โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จัดพิธีมอบรางวัลการวิจัยและนวัตกรรมให้กับบุคลากรที่มีผลงานโดดเด่นด้านงานวิจัย ประจำปีการศึกษา 2566 เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2567 ในกิจกรรมประชุมระดมความคิดและสานสัมพันธ์องค์กร โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ประจำภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
รางวัลการวิจัยและนวัตกรรมของบุคลากรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นรางวัลที่สนับสนุนและส่งเสริมให้บุคลากรทำวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนและการให้บริการภายในโรงเรียน เปิดโอกาสให้บุคลากรแสดงศักยภาพในการสร้างสรรค์และพัฒนางานที่ตนเองรับผิดชอบด้วยแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน
การประกวดนี้ มีเกณฑ์การประเมินใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ คุณภาพของผลงาน ผลกระทบที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนานักเรียน ความคิดริเริ่มในการสร้างสรรค์ผลงาน และการนำผลงานไปใช้จริงและได้ผลเป็นที่น่าพอใจ และแบ่งประเภทรางวัลออกเป็น 4 ประเภท โดยมีผลรางวัลดังนี้
1. รางวัลนวัตกรรมด้านการศึกษา มีจำนวน 3 รางวัล ได้แก่
- ผลงานเรื่อง “การสํารวจความหลากหลายทางสิ่งแวดล้อมในนาบัว: การเรียนรู้ผ่าน Problem Based Learning (PBL)ด้วย GLOBE Protocols” โดย นายวีรวุฒิ เทียนขาว และ ดร.อุษา จีนเจนกิจ ครูสาขาวิชาเคมี
รายละเอียดผลงาน
จากแนวคิดในการมุ่งสร้างความตระหนัก ทัศนคติ และค่านิยมเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม งานวิจัยนี้จึงได้ออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสถานการณ์จริงในชีวิตประจำวันและในชุมชน ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายมากยิ่งขึ้น และฝึกฝนให้นักเรียนได้นำความรู้ไปสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง โดยการใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based learning, PBL) ร่วมกับ GLOBE Protocols ซึ่งการเรียนนี้ ทำให้นักเรียนสามารถคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล สื่อสารสิ่งที่ได้เรียนรู้ และแสดงให้เห็นถึงความตระหนักรู้ของปัญหาและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม - ผลงานเรื่อง “การพัฒนาทักษะการประยุกต์ใช้เรื่องฟังก์ชันลอการิทึมในการเรียนเรื่องจลนศาสตร์เคมีของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบย้อนกลับ” โดย ดร.สิทธิโชค โสมอ่ำ ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ ดร.มนสิการ จันทร์สร้าง ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ และ ดร.อุษา จีนเจนกิจ จากสาขาวิชาเคมี
รายละเอียดผลงาน
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้เคมีที่ต้องนำความรู้คณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ โดยนักเรียนประสบปัญหาในการเชื่อมโยงความรู้ คณะผู้วิจัยจึงได้พยายามแก้ปัญหาโดยใช้วิธีการจัดการเรียนการสอนแบบย้อนกลับในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาทักษะการประยุกต์ใช้ฟังก์ชันลอการิทึมในการเรียนจลนศาสตร์เคมี ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจคณิตศาสตร์และสามารถประยุกต์กับวิชาเคมีได้ง่ายขึ้น - ผลงานเรื่อง “Helmholtz Resonator frequency with correction factor for a nonuniform cylindrical bottle shape to determine speed of sound” โดย ดร.ปราณี ดิษรัฐกิจ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์
รายละเอียดผลงาน
เป็นการศึกษาปรากฎการณ์สั่นพ้องของเสียงในขวดเปล่า (ขวดน้ำขนาดประมาณ 500 ml) ซึ่งเรียกว่า Helmholtz Resonator เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรช่วงว่างภายในขวดกับความถี่ที่ทำให้เกิดการสั่นพ้องของเสียง โดยได้เสนอ correction factor (ผลของเส้นผ่านศูนย์กลางขวดที่ไม่สม่ำเสมอ) เข้าไปในความสัมพันธ์ Helmholtz Resonator frequency เดิมที่ใช้ได้กับขวดที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางสม่ำเสมอเท่านั้น ผลการศึกษานี้ สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนทั้งลักษณะ กิจกรรม Hands-on และเป็นบทปฏิบัติการทดลองแบบเต็มรูปแบบ
- ผลงานเรื่อง “An explicit formula for averaging sequences” โดย ดร.ธนัชกฤศ แก้วเต็ม ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ
รายละเอียดผลงาน
งานวิจัยนี้เป็นผลงานที่ทำร่วมกับนายกษิดิ์เดช จูห้อง นักเรียนชั้น ม.6/9 มีวัตถุประสงค์ในการแสดงพจน์ทั่วไปและลิมิตของลำดับค่าเฉลี่ย (averaging sequence) การทราบพจน์ทั่วไปของลำดับนำไปสู่การเข้าใจพฤติกรรมของลำดับอย่างลึกซึ้ง เพิ่มความรวดเร็วในการคำนวณในกรณีที่ข้อมูลเริ่มต้นมีจำนวนมาก รวมทั้งเปิดโอกาสในการค้นพบสมบัติของลำดับและการประยุกต์ใช้ในอนาคต - ผลงานเรื่อง “Investigating the linear equations of maximum and minimum slope lines on a linear graph in high school physics experiments using numerical method” ของ ดร.นิทัศน์ ศรีพงษ์พันธ์ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ และ ดร.สิทธิโชค โสมอ่ำ ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ
รายละเอียดผลงาน
หัวข้อที่ศึกษาเป็นการใช้ numerical method เพื่อเขียนเงื่อนไขให้หาเส้นตรงที่ให้ค่าความชันมากที่สุดและเส้นตรงที่ให้ค่าความชันน้อยที่สุด ว่าควรจะมีค่าเท่ากับเท่าใด โดยพิจารณาจุดข้อมูลบนกราฟ ที่มี error bar ค่าความชันของเส้นตรงทั้งสองเส้น จะถูกนำไปใช้ในการคำนวณหา ค่าความคลาดเคลื่อน จากกราฟที่ให้ค่าที่ถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
- ผลงานเรื่อง “Apparatus for Determining Young’s Modulus of Solid Material Based on Gravitational Force Analysis” โดย ดร.กิติศักดิ์ บุญขำ และ ดร.ธัญนันท์ สมนาม ครูสาขาวิชาฟิสิกส์
รายละเอียดผลงาน
เป็นการสร้าง นวัตกรรมชุดการทดลอง สำหรับศึกษาความยืดหยุ่นของสสารที่เป็นของของแข็งมีชื่อเฉพาะว่า มอดุลัสของยัง โดยนำค่ามอดุลัสของยังที่ได้ไปเทียบกับค่ามาตรฐานที่ได้จากเครื่อง UTM หรือเครื่องทดสอบแรงดึง มีค่าความคลาดเคลื่อนประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ และชุดการทดลองดังกล่าวใช้สำหรับการเรียนการสอนในห้องเรียนในหลักสูตรของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ส่งผลให้นักเรียน มีทักษะ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ ชุดทดลองดังกล่าวสามารถเป็นต้นแบบ ให้นักเรียน ครู และผู้ที่สนใจได้
สำหรับรางวัลนี้ ในปีนี้ยังไม่มีผู้ที่ได้รับรางวัลดังกล่าว