ครูและนักเรียน MWIT ร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15

คณะครูและนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 ซึ่งจัดขึ้นระหว่าง 9-10 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ร่วมกับ สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับเกียรติจากสมาคมพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 15 (The 15th Botanical Conference of Thailand: BCT15) ในหัวข้อ “พฤกษศาสตร์สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน: ความร่วมมือในระดับท้องถิ่นสู่ระดับสากล (Botany towards SDGs: from local to global partnership)”  โดยมีทั้งการบรรยายพิเศษ การเสวนา การนำเสนอผลงานวิจัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา นิสิต นักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับพฤกษศาสตร์ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความคิดเห็นระหว่างกัน ตลอดจนก่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันและบุคลากร เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของงานวิจัยด้านพฤกษศาสตร์

สำหรับการประชุมและการนำเสนอผลงานในครั้งนี้ ประกอบด้วย 6 กลุ่ม ได้แก่

  • อนุกรมวิธานและซิสเต็มมาติกส์
  • กายวิภาคศาสตร์ เรณูวิทยา พฤกษเคมี พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
  • สรีรวิทยาของพืช
  • พันธุศาสตร์ และนิเวศวิทยา
  • ชีวเคมี เทคโนโลยีชีวภาพ เภสัชพฤกษศาสตร์ เกษตรอัจฉริยะ
  • โครงงานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา

โอกาสนี้ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ร่วมนำเสนอผลงาน และได้รับรางวัลดังนี้

การนำเสนอภาคบรรยาย กลุ่มการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา

รางวัลชนะเลิศภาคบรรยาย

  • โครงงานเรื่อง “ประสิทธิภาพของไคโตซานและกัวร์กัมต่อการยืดอายุการเก็บรักษาเห็ดแชมปิญอง (Agaricus bisporus)” ผลงานของ นางสาวณิชารีย์ ชัยสัมฤทธิ์ผล นักเรียนชั้น ม.6/3 นางสาวอนัญญา ไชยนพกุล นักเรียนชั้น ม.6/5 และ นางสาวณัชชา ชัยสัมฤทธิ์ผล นักเรียนชั้น ม.6/6  โดยมี อาจารย์ภัทรญา กลิ่นทอง ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานเรื่อง “กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบเนื้อไม้พืชบางชนิดในสกุลมะเดื่อ สกุลย่อยม้ากระทืบโรง ในประเทศไทย” ผลงานของ นายกมลวิช ปลายเนิน นักเรียนชั้น ม.6/8  โดยมี ดร.จิโรจน์ แสงรัตนประเสริฐ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ภาคบรรยาย

  • โครงงานเรื่อง “ผลของความเค็มต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของค้างคาวแคระ” ผลงานของ นางสาวกชกร วิกุลชัยกิจ นักเรียนชั้น ม.6/2  นายวีรภัทร ปัญญามัง นักเรียนชั้น ม.6/7 และ นางสาวทิพมาศ จุ้ยมีนวล นักเรียนชั้น ม.6/9  โดยมี อาจารย์พิมพ์เพ็ญ เธียรสิทธิพงศ์ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ รศ.ดร.อุทัยวรรณ สุทธิศันสนีย์ จาก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงงาน 
  • โครงงานเรื่อง “การตรวจวิเคราะห์อย่างง่ายเพื่อหาชนิดและปริมาณของแอลกอฮอล์ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือด้วยสารสกัดจากลำต้นยอ (Morinda citrifolia L.)  ผลงานของ นายจิรกิตติ์ จิระเจริญรัตน์ นักเรียนชั้น ม.6/7 นายพงศกร โลหะศิริวัฒน์ นักเรียนชั้น ม.6/6  และ นายพณิช กมลาพร นักเรียนชั้น ม.6/8 โดยมี อาจารย์สรชัย แซ่ลิ่ม ครูสาขาวิชาเคมี และ รศ.ดร.พิทักษ์ เชื้อวงศ์ จาก ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ภาคบรรยาย

  • โครงงานเรื่อง “การศึกษาเบื้องต้นของความหลากหลายของไลเคนในเขตพื้นที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์” ผลงานของ นางสาวหฤทชนัน สัมพันธ์ชัยวสุ นักเรียนชั้น ม.6/4  โดยมี ดร.จิโรจน์ แสงรัตนประเสริฐ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ รศ.ดร.เอกพันธ์ ไกรจักร์ จาก ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานเรื่อง “การผลิตเจลปรับอากาศโดยใช้วัตถุดิบจากเปลือกส้มโอ” ผลงานของ นายปกป้อง สท้านวงศ์ นักเรียนชั้น ม.6/2  นายปรเมศวร์ แสงแก้วสุข นักเรียนชั้น ม.6/4  และ นางสาวฐิมาภรณ์ ศิริรัตน์ นักเรียนชั้น ม.6/8  โดยมี ดร. ดวงแข ศรีคุณ ครูสาขาวิชาเคมี และ ผศ.ดร.ภญ.ปัทมพรรณ โลมะรัตน์  จาก ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงงาน

การนำเสนอภาคนิทัศน์ กลุ่มการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา

รางวัลชนะเลิศภาคนิทัศน์

  • โครงงานเรื่อง “การพัฒนาแบบจำลองเพื่อทำนายการสุกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้จากความถ่วงจำเพาะของผลมะม่วง” ผลงานของ นางสาวณัฐฐิรา อุดมสิทธิพันธ์ุ นักเรียนชั้น ม.6/9 นายธีร์ธวัช นิลละออ นักเรียนชั้น ม.6/9 และ นางสาวนัทธมน ภควัตมงคล นักเรียนชั้น ม.6/9  โดยมี ดร.พัสวีพิชญ์ รุ่งโรจน์ตระกูล ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ รศ.ดร.ศุภวงศ์ ทั่วรอบ จาก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงงาน

รางวัลเกียรติบัตรจากการนำเสนอผลงานภาคนิทัศน์

  • โครงงานเรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพการขึ้นรูปเป็นเยลลี่ของเพคตินจากเปลือกส้มโอ” ผลงานของ นางสาวศรุตา ศรีเจริญ นักเรียนชั้น ม.6/9  นางสาวธมกร ศรีสวัสดิ์ นักเรียนชั้น ม.6/9 และ นางสาวภัสนันท์ สัมฤทธิ์สุทธิ์ นักเรียนชั้น ม.6/10  โดยมี อาจารย์พิมพ์เพ็ญ เธียรสิทธิพงศ์ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ  ผศ.ดร.นัฐพล ตั้งสุภูมิ  จาก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานเรื่อง “ผลของกรดอะเซทิลซาลิไซลิกในการบรรเทาความเครียดที่เกิดจากคอปเปอร์ (II) ซัลเฟตในต้นกล้าถั่วเขียว” ผลงานของ  นายธเนษฐ อมรจิรพร นักเรียนชั้น ม.5/10  นางสาวฐิติกาญจน์ บดินทร์ฐิติกุล นักเรียนชั้น ม.5/10  และ นางสาวปัณณสา พงศ์สิงหโชติ นักเรียนชั้น ม. 5/10  โดยมี ดร. โอภาส พระเทพ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน    
  • โครงงานเรื่อง “การเปรียบเทียบโมเดลเรียนรู้เชิงลึกสำหรับตรวจจับยูกลีนอยด์เพื่อเป็นต้นแบบของโปรแกรมประเมินคุณภาพน้ำด้วยแพลงก์ตอนพืช”  ผลงานของ นายรวิทย์ ผ่านภูวงษ์ นักเรียนชั้น ม.6/10  โดยมี อาจารย์ธัญญรัตน์ ดำเกาะ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ      ผศ.ดร.อรวรรณ เชาวลิต จาก ภาควิชาคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นที่ปรึกษาโครงงาน

การนำเสนอภาคนิทัศน์ของคุณครู

  • ดร.โอภาส พระเทพ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้รับรางวัลดีเด่นภาคนิทัศน์ กลุ่มสรีรวิทยาของพืช จากการนำเสนอผลงานเรื่อง “ไขความลับแห่งความสัมพันธ์ระหว่างสีของใบกับรงควัตถุและลักษณะทางกายวิภาคของใบย่านดาโอ๊ะ”
  • ดร.พัสวีพิชญ์ รุ่งโรจน์ตระกูล ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้รับรางวัลดีเด่นภาคนิทัศน์ กลุ่มกายวิภาคศาสตร์ เรณูวิทยา พฤกษเคมี และพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน จากการนำเสนอผลงานเรื่อง “การศึกษาเฉดสีเหลืองจากพืชท้องถิ่น”
  • อาจารย์พิมพ์เพ็ญ เธียรสิทธิพงศ์ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัยภาคนิทัศน์ กลุ่มกายวิภาคศาสตร์ เรณูวิทยา พฤกษเคมี และพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน จากผลงานเรื่อง “ผลของความร้อนต่อปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระในแป้งที่ผลิตจากมันม่วง เผือก และกล้วยน้ำว้า”

นอกจากนี้ ยังมีอาจารย์ผู้ดูแลนักเรียนที่เดินทางไปร่วมงานครั้งนี้อีก 1 คน ได้แก่ ดร.จิโรจน์ แสงรัตนประเสริฐ ซึ่งได้รับเชิญให้เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในการตัดสินผลงานภาคบรรยาย ร่วมกับ ดร.โอภาส พระเทพ

https://science.buu.ac.th/bct15 และ โอภาส พระเทพ (ข้อมูล)

https://www.facebook.com/BCT15Burapha/  และ โอภาส พระเทพ (ภาพ)

We uses cookies to improve the functionality, performance, and effectiveness of our communications, detailed in our Privacy Policy. By continuing to use this site, or by clicking "Agree," you consent to the use of cookies.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ Settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ - Session Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies are essential to provide You with services available through the Website and to enable You to use some of its features. They help to authenticate users and prevent fraudulent use of user accounts. Without these Cookies, the services that You have asked for cannot be provided, and We only use these Cookies to provide You with those services.

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytical Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ - Persistent Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies allow us to remember choices You make when You use the Website, such as remembering your login details or language preference. The purpose of these Cookies is to provide You with a more personal experience and to avoid You having to re-enter your preferences every time You use the Website.

Save