นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ คว้า 1 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน จากงานนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์นานาชาติ The 20th Kolmogorov Readings International Science Conference ซึ่งจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ในรูปแบบออนไลน์
ในปีนี้ The Advanced Education and Science Center (AESC) of Moscow State University (Kolmogorov School) กรุงมอสโค สหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้จัดงาน ได้ปรับเปลี่ยนการนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ในงาน “Kolmogorov Readings International Science Conference” ให้เป็นรูปแบบออนไลน์ โดยยังคงเป็นการแข่งขันนำเสนอโครงงานในสาขา Mathematics, Physics, Computer science, Chemistry, Biology และ Humanities เหมือนในครั้งที่ผ่านมา
นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จำนวน 8 คน ได้รับคัดเลือกให้ร่วมนำเสนอโครงงานในงานดังกล่าว 3 โครงงาน และได้รับรางวัลดังนี้
เหรียญทอง
– โครงงานวิชาชีววิทยาเรื่อง “การศึกษาผลของการใช้ยาต้านเอชไอวีต่อกระบวนการ สังเคราะห์อาร์เอ็นเอชนิด long non-coding ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศไทย” (The Effect of Antiretroviral Therapy on Long Non-Coding RNA Transcription in Thai HIV-1 Infected Individuals) ผลงานของ นายพรรษ เดชาวิชิตเลิศ นายประวีร์ สินวีรุทัย และ นายภาคิน เภาวัฒนาสุข โดยมี นางสาวสถาพร วรรณธนวิจารณ์ สาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ ดร.นพ.บุญรัตน์ ทัศนีย์ไตรเทพ จาก คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
เหรียญเงิน
– โครงงานวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง “การศึกษาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพการ กระจายสินค้าโดยใช้เครือข่ายการไหลที่มีค่าน้ำหนักสองค่าบนผลคูณเล็กซิโคกราฟิกของ กราฟวิถีและกราฟว่าง” (mprovement of Product Distribution Efficiency using Double-Weighted Flow Network on Lexicographic Product of Path Graph and Empty Graph) ผลงานของ นายชยพล เชาว์วีระประสิทธิ์ นายณัฐชนน สาระธนะ และ นายธนกฤต กมลสัมฤทธิ์ผล มี ดร.ธรรมนูญ ผุยรอด สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
– โครงงานวิชาชีววิทยาเรื่อง “การทํานายและคัดเลือกเปปไทด์ต้านมะเร็งลําไส้ใหญ่จาก ข้อมูลเปปทิโดมของเห็ดถังเช่าสีทอง (Cordyceps militaris)” (Prediction and Selection of anticancer peptide in colorectal cancer from Cordyceps militaris peptidome by using bioinformatics) ผลงานของ นางสาวจริญญากร จันทวรรณกูร และ นางสาวภานินนุช ฉัตรพัฒนศิริ มีนางทิพนาถ น้อยแก้ว สาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน