นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์คว้ารางวัลจากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 และการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 23 ในงานการประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2564 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี
บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประกวดผลงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 (The 1st National Science Technology and Innovation Fair 2021 : NSTIF 2021) ขึ้น ในรูปแบบออนไลน์ โดยเวทีการประกวดนี้ เป็นการประกาศผลรางวัลของผลงานที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศจากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (YSC) ครั้งที่ 23 และการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC) ครั้งที่ 23 ซึ่งผลรางวัลมีดังนี้
การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย (NSC) ครั้งที่ 23
รางวัลที่ 2 รับโล่รางวัล เกียรติบัตร และทุนการศึกษา 40,000 บาท ได้แก่
- โปรแกรมเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ (นักเรียน) “SciBEAM: แอปพลิเคชันส่งเสริมกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์เรื่องธาตุและสารประกอบในชีวิตประจำวัน” พัฒนาโดย นายพงศภัค นิธิกิจโอฬาร นายศุภกิตติ์ สร้อยน้ำ และ นายโมกข์ วรรธนะโสภณ มี อาจารย์เลาขวัญ งามประสิทธิ์ เป็นที่ปรึกษา
การประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (YSC) ครั้งที่ 23
รางวัลรองชนะเลิศ YSC2021 ระดับประเทศ และได้รับสิทธิ์ตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขัน Regeneron ISEF 2021 รับโล่รางวัล พร้อมเกียรติบัตรและทุนการศึกษา 30,000 บาท ได้แก่
- โครงงานเรื่อง “นวัตกรรมชุดทดสอบเหงื่อสามฟังก์ชันเพื่อการวิเคราะห์ระดับไมโครของปริมาณแคลเซียม ฟอสเฟต เเละ ค่ากรดเบส สู่การประเมินภาวะเสี่ยงโรคกระดูกพรุน” พัฒนาโดย นายพัฒฒ์ พฤฒิวิลัย นายกฤษฏิ์ กสิกพันธุ์ และ นายกรวีร์ ลีลาอดิศร มี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
รางวัลพิเศษนวัตกรรมด้านการแก้ปัญหาร่วมสมัย ได้แก่
- โครงงานเรื่อง “เครื่องตรวจวัดอุณหภูมิระยะไกล” พัฒนาโดย นายฐิติภูมิ โกมุทานุสรณ์ นายณภัทร ธารไทรทอง และ นายภาสวี ตรีราภี มี ดร. รุ่งโรจน์ ทวยเจริญ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
โครงงานที่ร่วมนำเสนอในรอบชิงชนะเลิศ และได้รับรางวัลชนะเลิศ ภาคตะวันตก ได้แก่
- โครงงานเรื่อง “ระบบตรวจจับและแจ้งเตือนการล้มของผู้สูงอายุในห้องน้ำ” พัฒนาโดย นางสาวศุภานิช ลิ่มเจริญพานิช นางสาวพิชชาภา ตัณฑสมบูรณ์ และ นางสาวชนิสรา พุกบุญมี มี อาจารย์เลาขวัญ งามประสิทธิ์ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การกำจัดและตรวจวัด Bisphenol-A ด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม: ประโยชน์สองทางจากประยุกต์ใช้ผักตบชวาอย่างคุ้มค่าสู่การลดปัญหาสารพิษในสิ่งแวดล้อม” พัฒนาโดย นายต้นข้าว จิตรนิรัตน์ นายทศธรรมรังสี รัตนเสถียร และ นายณภัทร แย้มยิ่ง มี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ และ อาจารย์วีรวุฒิ เทียนขาว เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “Fruit-Long: แผ่นดูดซับเอทิลีนจากดินเหนียวนาโนและนาโนเซลลูโลสเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้” พัฒนาโดย นางสาวกวิสรา รุจิประภากร นางสาวลักษิกา หงส์ฟ่องฟ้า และ นายพิชญุตม์ ลือปิยะพาณิชย์ มี ดร. ณุจุฑา ธรรมสุเมธ ครูสาขาวิชาเคมี ร่วมด้วย ผศ.ดร.ภญ.ชิตชไม โอวาทฬารพร จาก ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ รศ.ดร.จิรดา สิงขรรัตน์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การตรวจวัดปริมาณยาปฏิชีวนะ Sulfadimidine ที่ตกค้างในเนื้อหมูด้วยเทคนิค Spectrophotometry โดยใช้ Color reagent สกัดจากธรรมชาติ” พัฒนาโดย นายกวีรภัทร์ ไชยไธสง และ นนธนัช เตปันวงศ์ มี อาจารย์เมษสุวัลย์ พงษ์ประมูล เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การเตรียมเปลือกแคปซูลแข็งจากคอลลาเจนสกัดจากแมงกะพรุน” พัฒนาโดย นายธนบดี เลาลักษณเลิศ นายลภัส พรธนมนตรี และ นายฐาปกรณ์ พิพัฒน์ผจง มี อาจารย์เมษสุวัลย์ พงษ์ประมูล เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
อรสิริ อิ่มสุวรรณ์ (สรุป/ภาพ)