เครื่องร่อนจากทีมโรงเรียนอัสสัมชัญแสดงผลงานยอดเยี่ยม คว้าแชมป์จากการแข่งขันแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (MWIT Challenge 2024) ไปครอง จากการแข่งขันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2567 ในงาน MWIT Science Festival & Open House 2024 ณ หอประชุมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
การแข่งขันแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (MWIT Challenge) ในปีนี้ ยังคงความสนุกสนานเช่นเดิม โดยเป็นการแข่งขันออกแบบและสร้างเครื่องร่อนจากวัสดุที่กำหนด ภายใน 2 ชั่วโมง จากนั้น จะมีการปล่อยเครื่องร่อนของแต่ละทีม ให้นำลงจอดในจุดที่กำหนดไว้ โดยเครื่องร่อนที่อยู่ใกล้จุดดังกล่าวมากที่สุด โดยที่เครื่องร่อนไม่เกิดความเสียหาย จะได้รับการตรวจนับคะแนน ซึ่งแต่ละทีมจะมีโอกาสทดสอบ 3 ครั้ง และคิดคะแนนจากรอบที่ดีที่สุด
ในระหว่างการสร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์ ผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีมสามารถส่งสมาชิกไปร่วมทำภารกิจในกิจกรรมฐานต่าง ๆ ที่จัดไว้โดยรอบหอประชุมได้ เพื่อรับแต้มพิเศษสำหรับแลกตัวช่วยในการสร้างเครื่องร่อนที่ร้านค้า
การแข่งขันในปีนี้ มีผู้สมัครเข้าร่วมประลองความสามารถจำนวน 19 ทีม และมีผลการแข่งขันดังนี้
- ทีม AC Assumption จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ สมาชิกทีมประกอบด้วย เด็กชายภูมิกวิน เจริญธรรมรักษา เด็กชายเตชิต โรจนาประดับ เด็กชายสิทธินนท์ ปาละกวงศ์ ณ อยุธยา และ เด็กชายธีธัช ชูสกุล
- ทีม Imagine จาก โรงเรียนดรุณสิกขาลัย สมาชิกทีมประกอบด้วย นายปธิกร แก้วยานุรักษ์ เด็กชายสุพรพัฒน์ ม่วงศิริ เด็กชายลภัสสินี ศิริดำรงค์ศักดิ์ และ เด็กชายสฬสีห์ ก่อกิจสัมมากุล
- ทีม JP diamond จาก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี สมาชิกทีมประกอบด้วย เด็กชายหัฎฐกร ไทยนิ่ม เด็กชายชยางกูร ธีรสุขสถาพร เด็กชายนวพล ขุนนุชนารถ และ นายเลโอ มาลแอร์เบอะ
- ทีม Mixar ซึ่งเป็นทีมอิสระ สมาชิกทีมประกอบด้วย เด็กชายอิมติยาช สิทธิสาร เด็กชายอาดิล สิรยุกต์ อิสสระชัย และ เด็กหญิงซอฟาอ์ ศิริพิสุทธิ์ อิสสระชัย
- ทีม MK-Wit จาก โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม สมาชิกทีมประกอบด้วย เด็กหญิงกัลยกร ปาลีนิเวศ เด็กหญิงพิง โอฬารวณิช เด็กหญิงศุภรดา จำปานิล และ เด็กชายสิปปภาส ไกรสิทธิธาดา