MWIT ร่วมต้อนรับผู้บริหาร ครู และนักเรียน จากโรงเรียนเครือข่าย Ritsumeikan High School

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ นำโดย ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช ผู้อำนวยการโรงเรียน ร่วมต้อนรับ Mr.Yasuhiro Higashitani  ผู้อำนวยการโรงเรียน Ritsumeikan High School ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเดินทางมาพร้อมกับครูและนักเรียน ในโอกาสมาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 10-19 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

การเดินทางมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและวัฒนธรรมของคณะจากโรงเรียน Ritsumeikan High School ประเทศญี่ปุ่น ในครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่ทุกคนได้มีโอกาสมาเยี่ยมเยียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์  รวมไปถึง Mr.Yasuhiro Higashitani  ผู้อำนวยการโรงเรียน Ritsumeikan High School ด้วย  โอกาสนี้ ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และ ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ หัวหน้าสาขาวิชาเคมี จึงได้ใช้ช่วงเวลาวันหยุดสุดสัปดาห์ นำชมสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบุรี ไม่ว่าจะเป็น อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง)  พระรามราชนิเวศน์ (วังบ้านปืน)  เกาะสิงโต  อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร และ สวนตาลลุงถนอม  ส่วนนักเรียนนั้นได้ทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวของบัดดี้

ตลอดช่วงเวลาการมาเยือนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์  ที่ Mr.Yasuhiro Higashitani ผู้อำนวยการ และ Mr.Keita Yamamoto ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ได้นำนักเรียน จำนวน 10 คน มาร่วมกิจกรรมนี้  ทั้งหมดได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ ในวิชาดาราศาสตร์ วิชาเคมี วิชาชีววิทยา วิชาภาษาอังกฤษ กิจกรรมลงมือปฏิบัติในหัวข้อ “Laser Cutting” และกิจกรรมที่เรียนรู้ความเป็นไทยอย่าง การทำอาหารไทย ศิลปะ ภาษาไทย รำไทย ดนตรีไทย และมวยไทย     

นอกจากนี้ คณะยังได้มีโอกาสศึกษาดูงาน ณ สถานที่ต่าง ๆ ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร  มิวเซียมสยาม  ไอคอนสยาม  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ศูนย์ปฏิบัติการและซ่อมบำรุง สถานีรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง (บางใหญ่) ของบริษัท BEM (ฺBangkok Expressway and Metro) และเรียนรู้พรรณไม้ ในอุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

อีกหนึ่งกิจกรรมที่ทั้งสองโรงเรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ คือ การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ร่วมกัน โดยกลุ่มนักเรียนจากทั้งสองโรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน ได้ทำโครงงานเกี่ยวกับการเปรียบเทียบผลผลิตพริก ที่ได้จากการปลูกพริกในรูปแบบปกติและรูปแบบกลับหัว ซึ่งนักเรียนจะใช้เวลาช่วงเย็นของทุกวัน ในการปรึกษาหารือและทำการทดลองร่วมกัน โดยมี ดร.จิโรจน์ แสงรัตนประเสริฐ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน

งานวิเทศสัมพันธ์ (ภาพ/ข้อมูล)

We uses cookies to improve the functionality, performance, and effectiveness of our communications, detailed in our Privacy Policy. By continuing to use this site, or by clicking "Agree," you consent to the use of cookies.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ Settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ - Session Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies are essential to provide You with services available through the Website and to enable You to use some of its features. They help to authenticate users and prevent fraudulent use of user accounts. Without these Cookies, the services that You have asked for cannot be provided, and We only use these Cookies to provide You with those services.

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytical Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ - Persistent Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies allow us to remember choices You make when You use the Website, such as remembering your login details or language preference. The purpose of these Cookies is to provide You with a more personal experience and to avoid You having to re-enter your preferences every time You use the Website.

Save