ครูและนักเรียน MWIT ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยในการประชุม SPC 2023

ครูและนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ร่วมนำเสนอผลงานทางด้านฟิสิกส์ ในการประชุมวิชาการฟิสิกส์ระดับชาติ อย่างงาน Siam Physics Congress 2023: SPC 2023 ระหว่างวันที่ 14 – 16 มิถุนายน 2566 ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ 

ด้วย ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสมาคมฟิสิกส์แห่งประเทศไทย จัดการประชุมวิชาการฟิสิกส์ระดับชาติ ครั้งที่ 18 ประจำปี 2566 (Siam Physics Congress 2023: SPC 2023) ขึ้น โดยภายในงาน มีการนำเสนอผลงานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ทั้งในรูปแบบโปสเตอร์และบรรยาย โดยเน้นผลงานในสาขาฟิสิกส์ และฟิสิกส์ประยุกต์ ผู้ที่ได้รับการตอบรับให้นำเสนอผลงานจะต้องนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งสามารถส่งบทความฉบับเต็มเพื่อรับการพิจารณาตีพิมพ์วารสารการประชุมในฐานข้อมูลที่เข้าถึงได้ คือ the Open Access Journal of Physics: Conference Series (JPCS) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ IOP Conference Series บนฐานข้อมูล SCOPUS

โอกาสนี้ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พร้อมด้วยนักเรียนจำนวนหนึ่ง ได้ร่วมนำเสนองานวิจัย รวม 13 ผลงาน แบ่งเป็น ผลงานของครูจำนวน 4 ผลงาน และผลงานของครูร่วมกับนักเรียนจำนวน 9 ผลงาน โดยเป็นการนำเสนอภาคบรรยาย จำนวน 6 ผลงาน และภาคโปสเตอร์จำนวน 7 ผลงาน ดังนี้

การนำเสนอผลงานภาคบรรยาย (Oral presentation) ของนักเรียน

  • โครงงานเรื่อง “DeepHCC: แบบจำลองการเรียนรู้ เชิงลึกสำหรับการศึกษาอัตราการตรวจวัดอนุภาคแบบเรียลไทม์ในเครื่องตรวจจับอนุภาคชนิดคลาวด์แชมเบอร์ที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง” (DeepHCC: Deep learning model for real-time count rate determination of particles in homemade cloud chamber)  ผลงานของ นายอนาวิล ศิลปศาสตร์ นักเรียนชั้น ม.6/10  นายธนัสภพ หลิมจำนนท์ นักเรียนชั้น ม.6/10 และ นายภาณุพัฒน์ ศรีสุขวสุ นักเรียนชั้น ม.6/1  โดยมี ดร.ธัญนันท์ สมนาม และ อาจารย์ชาคริต สมานรักษ์ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน ร่วมกับ ดร.สุทธิวัฒน์ หมาดหลี จาก ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นที่ปรึกษาภายนอก
    .
  • โครงงานเรื่อง “การใช้การเรียนรู้ของเครื่องในการทำนายค่าสัมประสิทธิ์แรงฉุดของวัตถุ” (Predicting the drag coefficient of object using machine learning)  ผลงานของ นายนพดล อมรทรัพย์เจริญ นักเรียนชั้น ม.6/10 และ นายเอกภัทร ภู่ประภา นักเรียนชั้น ม.6/3  โดยมี ดร.นิทัศน์ ศรีพงษ์พันธ์ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ และ ดร.สิทธิโชค โสมอ่ำ ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
    .
  • โครงงานเรื่อง “การประดิษฐ์เครื่องมือวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยคลื่นความเครียดเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน” (Invention of bone density measuring instrument using stress waves for assisting in osteoporosis diagnosis)  ผลงานของ นายภัทรชัย ศาสตรานุรักษ์ นักเรียนชั้น ม.6/7 และ นางสาวอู่อุขวัญ เจริญกุล นักเรียนชั้น ม.6/7 โดยมี อาจารย์จตุพร พันตรี ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน ร่วมกับ ดร.มงคล สะพานแก้ว จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาภายนอก
    .
  • โครงงานเรื่อง “การใช้เทคนิค Machine Learning ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตรวจหาอนุภาคฮิกส์นอกเหนือจากแบบจำลองมาตราฐาน” (Search for BSM Higgs boson using machine learning techniques)  ผลงานของ นายพัทธดนย์ เพ่งพินิจ นักเรียนชั้น ม.6/5  นายธัญวิสิฏฐ์ สุธรรมเกษม นักเรียนชั้น ม.6/5 และ นายอินทเศรษฐ์ อุปทินเกตุ นักเรียนชั้น ม.6/5  โดยมี อาจารย์จตุพร พันตรี ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน ร่วมกับ ดร.ชญานิษฐ์ อัศวตั้งตระกูลดี จาก ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาภายนอก
    .
  • โครงงานเรื่อง “การวินิจฉัยโรคทางการได้ยินโดยใช้ชุดคำศัพท์ Auditory Illusion” (Hearing disease diagnosis by using pairs of auditory illusion words) ผลงานของ นายรุจิภาส ธรรมวิโรจน์ศิริ นักเรียนชั้น ม.6/1 และ นายสุรมิศ บุญสม นักเรียนชั้น ม.6/3  โดยมี ดร.รุ่งโรจน์ ทวยเจริญ และ ดร.ธัญนันท์ สมนาม ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน ร่วมกับ  นายแพทย์ธนุศักดิ์ ศรีใจ จาก กลุ่มศูนย์การแพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งเป็นที่ปรึกษาภายนอก
    .
  • โครงงานเรื่อง “การศึกษาประตูสัญญาณตรรกะเชิงแสงด้วยเเมคแซนเดอร์อินเตอร์เฟียโรมิเตอร์” (Study of the optical logic gates using the Mach– Zehnder interferometer)  ผลงานของ นายนิธิวิทย์ โรจนรักษ์ นักเรียนชั้น ม.6/1  โดยมี ดร.กิติศักดิ์ บุญขำ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน

การนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ (Poster presentation) ของนักเรียน

  • โครงงานเรื่อง “ผลของสนามไฟฟ้าความถี่สูงต่อสมบัติการระเหยของน้ำ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาความสดของผลไม้” (An influence of high frequency electric field on water evaporation for fruit preservation)  ผลงานของ นางสาวเทียนกมล ทองคง นักเรียนชั้น ม.6/3 และ นางสาวไอริณรยา พิทักษ์วงษ์ นักเรียนชั้น ม.6/3  โดยมี ดร.ปราณี ดิษรัฐกิจ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
    .
  • โครงงานเรื่อง “การหักล้างคลื่นเสียงมนุษย์โดยใช้คลื่นเสียงสังเคราะห์” (Human voice cancelling with synthesized waves)  ผลงานของ นายจิรายุ พรมเผ่า นักเรียนชั้น ม.6/1 และ นายธิติ สันติลินนท์ นักเรียนชั้น ม.6/1  โดยมี อาจารย์จตุพร พันตรี ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
    .
  • โครงงานเรื่อง “ศึกษาโครงสร้างและคุณสมบัติทางไฟฟ้าของ lead-free KNbO3 โดย การใช้ความเค้นและ Dope โซเดียมในอัตราส่วนต่าง ๆ” (The structural and electronic properties of lead-free potassium-sodium niobate (K1-xNaxNbO3) by apply strain and dope Sodium in specific ratios)  ผลงานของ    นายศุภวิชญ์ ลิ้มวิภาวีอนันต์ นักเรียนชั้น ม.6/9  นายเฉลิมภรพจน์ กาญจนวรงค์ นักเรียนชั้น ม.6/9และ นายธีร์ธวัช พิมพา นักเรียนชั้น ม.6/9  โดยมี อาจารย์อนุชา ประทุมมา และ ดร.นิทัศน์ ศรีพงษ์พันธ์ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน

การนำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ (Poster presentation) ของครู

  •  ผลงานเรื่อง “Investigating the linear equations of the maximum and minimum slope lines on a linear graph in high school physics experiments using numerical method” นำเสนอโดย ดร.นิทัศน์ ศรีพงษ์พันธ์ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ และ ดร.สิทธิโชค โสมอ่ำ ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ
    .
  •  ผลงานเรื่อง “Proof existence of photon interference in the Michelson interferometer by using correlated photon pairs”  นำเสนอโดย ดร.กิติศักดิ์ บุญขำ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์
    .
  •  ผลงานเรื่อง “Helmholtz Resonator frequency with correction factor for a nonuniform cylindrical bottle shape to determine speed of sound” นำเสนอโดย ดร.ปราณี ดิษรัฐกิจ ครูวิชาการ สาขาวิชาฟิสิกส์
    .
  •  ผลงานเรื่อง” A newly designed class in electromagnetic induction for science high school students with competency-based learning activities using magnetic braking experimental set” นำเสนอโดย ดร.ธัญนันท์ สมนาม ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ ซึ่งวิจัยร่วมกับ ดร.กิติศักดิ์ บุญขำ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์

We uses cookies to improve the functionality, performance, and effectiveness of our communications, detailed in our Privacy Policy. By continuing to use this site, or by clicking "Agree," you consent to the use of cookies.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ Settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ - Session Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies are essential to provide You with services available through the Website and to enable You to use some of its features. They help to authenticate users and prevent fraudulent use of user accounts. Without these Cookies, the services that You have asked for cannot be provided, and We only use these Cookies to provide You with those services.

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytical Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ - Persistent Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies allow us to remember choices You make when You use the Website, such as remembering your login details or language preference. The purpose of these Cookies is to provide You with a more personal experience and to avoid You having to re-enter your preferences every time You use the Website.

Save