ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดงาน MWIT Science Fair 2022 การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับชาติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั่วประเทศในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องฉายภาพยนตร์สามมิติ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
การนำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์ระดับชาติ MWIT Science Fair 2022 จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 22-23 มกราคม พ.ศ. 2565 ภายใต้แนวคิด “สร้างพลังความคิดและชีวิตที่ยั่งยืนด้วยวิทย์และเทคโนโลยี” โดยโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้เชิญชวนโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ ร่วมส่งโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเข้ารับการคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยโครงงานที่ได้รับการคัดเลือกจะได้มีโอกาสนำเสนอในรูปแบบบรรยาย (Oral Presentation) สำหรับโครงงานที่ได้รับคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 95 โครงงาน เป็นโครงงานของนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ 49 โรงเรียน ใน 31 จังหวัด โดยมี ผู้ร่วมงานทั้งหมด 286 คน
กิจกรรมภายในงาน นอกจาก ดร.จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ นักเรียนเก่าของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ รุ่นที่ 16 ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร Quantum Technologies Foundation of Thailand (QFTF) องค์กรที่ปรึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมประเทศไทย จะร่วมบรรยายพิเศษช่วงพิธีเปิด ในหัวข้อ “Quantum Innovation” แล้ว ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อาทิ
- การนำเสนอโครงงานภาคบรรยายในรูปแบบออนไลน์
- กิจกรรม Science Activity ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
- การถ่ายทอดประสบการณ์ชีวิตของนักเรียนเก่า โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ที่ประสบความสำเร็จ ผ่านการเสวนา เพื่อจุดประกายแนวคิด และสร้างแรงบันดาลใจในการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตให้กับน้อง ๆ
สำหรับผลรางวัลการแข่งขันนั้น มีดังนี้
รางวัลกิจกรรม Science Activities
- รางวัลชนะเลิศกิจกรรม Science Activity ในธีม The Missing Evidence ได้แก่ นางสาวจิณณะ วัยวัฒนะ นางสาวศุภวิภา อันชำนาญ นางสาวสิรินารถ หนูสง และ นายกฤติน กำจรกิตติคุณ
- รางวัลชนะเลิศกิจกรรม Science Activity ในธีม Power Rangers Super Eco-force ได้แก่ นางสาวปราริสา กล้าพนัส นายณภัทร นิ่มนวล นางสาวอมรรัตน์ ศรีสวัสดิ์ และ นางสาวณัฐณิชา เขื่อนคำป้อ
- รางวัลชนะเลิศกิจกรรม Science Activity ในธีม Secret of the Alchemists ได้แก่ นางสาวชาลิสา ขาวเมืองน้อย นายอริย์ธัช พัชรกิจหิรัญโชติ นายณัฐภัค จักรีลา นายวรรณรัตน์ ชาญสุวรรณ และ นายวชิรวัช คำแสนสุข
- รางวัลชนะเลิศกิจกรรม Science Activity ในธีม The Power of Digital Technology ได้แก่ นายฌามา วจนชัย นายปวริศ โยธาราษฎร์ นายอัลอามีน ยีดอราแม นายวริทธิ์ธร คงหนู และ นายธีรเมต ช่วยพยุง
- รางวัลชนะเลิศกิจกรรม Science Activity ในธีม Rocket to the Blue Moon ได้แก่ นางสาวปาริชาติ วรรณแรก นายอาชาไนย ยกสมบัติ นางสาวพิชญ์สินี ใจเหล็ก และ นายวรานนท์ แก้วนัยจิตร
- รางวัลชนะเลิศกิจกรรม Science Activity ในธีม Amazing Future Food ได้แก่ นายกษิดิศ วิบูลย์เกียรติ์ นายนวพร จิตนารินทร์ นายณภัค เวชสุรียะกุล และ นางสาวกรเกศ จิรัปปภา
- รางวัลชนะเลิศกิจกรรม Science Activity ในหัวข้อธีม New Generation of Medicine ได้แก่ นายภูวิช สบายเหลือ นางสาวทิพประภา เจนกุลประสูติ นางสาวสิริธร นวลแก้ว นายคุณัชญ์ คงทอง และ นายธนกร เฮงสุนทร
รางวัลนำเสนอโครงงานแบบบรรยายยอดเยี่ยม
รางวัลนำเสนอโครงงานแบบบรรยายยอดเยี่ยม สาขาฟิสิกส์
- โครงงานเรื่อง “การแกว่งของลูกตุ้มที่มีกระแสลมรบกวน” โดย นายวิชยุตม์ นาคะศูนย์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช
รางวัลนำเสนอโครงงานแบบบรรยายยอดเยี่ยม สาขาคณิตศาสตร์
- โครงงานเรื่อง “ปัญหาการเติมช่องว่างสี่เหลี่ยมขนาดต่าง ๆ ด้วยบล็อกเตตริสต่างชนิดเมื่ออยู่ติดกัน” โดย นายธนภัทร คลังนาค โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
รางวัลนำเสนอโครงงานแบบบรรยายยอดเยี่ยม สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
โครงงานเรื่อง “ราวตากผ้าอัตโนมัติ” โดย นางสาวจุฑามาศ พรั่งพิบูลย์ นางสาวปุณณภา ศรุตานนท์ และ นายวชิรวัช คำแสนสุข โรงเรียนเซนต์เทเรซา กรุงเทพมหานคร
รางวัลนำเสนอโครงงานแบบบรรยายยอดเยี่ยม สาขาสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์
โครงงานเรื่อง “การสังเกตการณ์การเคลื่อนตัวของมวลแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์เหนือกรุงเทพมหานครด้วยข้อมูลดาวเทียม” โดย นายกษิดิศ วิบูลย์เกียรติ์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
รางวัลนำเสนอโครงงานแบบบรรยายยอดเยี่ยม สาขาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- โครงงานเรื่อง “ประสิทธิภาพสารสกัดหยาบจากวัชพืชรุกรานในการกำจัดลูกน้ำยุงลายพาหะนำโรคไข้เลือดออก” โดย นางสาวธนาวดี ม่วงงาม และ นางสาวนภสกร บัวไสว โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี
- โครงงานเรื่อง “การสังเคราะห์อนุภาคนาโนซิลเวอร์จากสารสกัดผักลิ้นห่านด้วยวิธีการทางชีวภาพเพื่อยับยั้งเชื้อมาลาเรีย” โดย นางสาวกชพร จุลศักดิ์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ จังหวัดนครศรีธรรมราช
- โครงงานเรื่อง “การประดิษฐ์แผ่นฟิล์มรับประทานได้จากพิวเร่แครอทเป็นบรรจุภัณฑ์ผงปรุงรสบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” โดย นางสาวภัทร วิธานติรวัฒน์ นายณัฐภัค จักรีลา และ นางสาวกัญญารัตน์ เที่ยงธรรม โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง จังหวัดตรัง
รางวัลนำเสนอโครงงานแบบบรรยายยอดเยี่ยม สาขาเคมี
- โครงงานเรื่อง “Fruit-Long: แผ่นดูดซับเอทิลีนจากดินเหนียวนาโนและนาโนเซลลูโลสเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลไม้” โดย นางสาวกวิสรา รุจิประภากร และ นางสาวลักษิกา หงส์ฟ่องฟ้า โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
- โครงงานเรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพการสลายไมโครพลาสติกผ่านท่อนาโนคาร์บอนจากเปลือกหอยแครง” โดย นางสาวชนากานต์ รัตนบุรี และ นางสาวณัฐรัตน์ เพ็ชรรัตน์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- โครงงานเรื่อง “การพัฒนาต้นแบบชุดทดสอบเชิงสีชนิดใหม่สำหรับไวรัสทั้งชนิด DNA และ RNA” โดย นายกุลพัชร ชนานำ นายคุณัชญ์ คงทอง และ นางสาวปกิตตา เกรียงเกษม โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม