สอนอย่างไรให้นักเรียนสนุกกับการเรียนรู้

การเรียน” อาจไม่ใช่เรื่องสนุกของนักเรียนหลาย ๆ คน  ยิ่งถ้าต้องเรียนเรื่องที่เข้าใจยากหรือไม่ชอบด้วยแล้ว อาจถึงขั้นเบือนหน้าหนีจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือมองวิวนอกหน้าต่างเลยทีเดียว

สื่อการสอนและกิจกรรมในชั้นเรียน เป็นปัจจัยหนึ่งในการดึงดูดความสนใจของนักเรียน ทั้งในแง่ของความสนุกสนาน การเข้าใจได้ง่าย และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ซึ่งช่วยเสริมสร้างบรรยากาศและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในห้องเรียนได้อย่างมาก และผลักดันให้การเรียนในห้องเรียนเกิดความสนุก

ห้องเรียนคุณครู MWIT

เลือกสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่สอนมาใช้ โดยคำนึงถึงความสนใจของนักเรียนเป็นสำคัญ

— ดร. อุษา จีนเจนกิจ —
ครูเคมี สาขาวิชาเคมี

หากครูสามารถทำให้นักเรียนสนใจในประเด็นหรือหัวข้อใด ๆ ได้ จะพูดว่าสำเร็จไปครึ่งหนึ่งแล้วก็ว่าได้  เพราะถ้าเด็กมีความสนใจเรื่องใดจริง เขาสามารถค้นคว้าและเรียนรู้เรื่องนั้นจากสื่อหรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ ได้มากมาย ดังนั้น เรื่องยากที่สุดของครูคือ ในหัวข้อนั้นมีสถานการณ์ใดเป็นที่สนใจของนักเรียน  ที่เหมาะกับวัย เหมาะกับพื้นความรู้เดิมของนักเรียน  ครูต้องมีการประชุมกันในการเลือกสถานการณ์อย่างจริงจัง จึงจะได้ตัวอย่างหรือสถานการณ์ที่ดี ทั้งนี้ อาจทำในลักษณะตั้งปัญหาที่ท้าทาย มีความยากพอสมควร พานักเรียนไปสถานที่จริง เล่าให้ฟัง ดูคลิปวิดิโอ สามารถทำได้ทุกอย่าง แต่สำคัญที่สุดคือสถานการณ์นั้นเป็นที่น่าสนใจจริงๆ ของนักเรียนหรือไม่

“Hands on” ลงมือปฏิบัติ วิเคราะห์ เชื่อมโยง สู่ปรากฎการณ์ในชีวิตประจำวัน

— ดร.สมพร บัวประทุม — 
ครูฟิสิกส์ สาขาวิชาฟิสิกส์ 

จัดการเรียนการสอนโดยใช้กิจกรรม Hands on เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติและฝึกวิเคราะห์ มีการเชื่อมโยงนำไปสู่ทฤษฎี หรือการประยุกต์ใช้ทฤษฎีเชื่อมโยงไปสู่ปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่พบในชีวิตประจำวัน  พร้อมทั้งให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เช่น การให้นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นและตอบคำถามโดยการใช้ platform ต่าง ๆ เช่น Poll  Answer garden หรือ google form  หรือการให้นักเรียนร่วมกันแก้โจทย์ปัญหาโดยใช้ Jamboard เป็นต้น”  

ดึงความรู้วิทย์ที่แฝงในงานศิลป์มาใช้ ออกแบบสไลด์ให้มีความรู้สึก กระตุ้นฉันทะในการเรียน

– – อาจารย์มานนท์ ผสมสัตย์ — 
ครูศิลปะ สาขาศิลปศาสตร์

การสอนศิลปะให้นักเรียนวิทยาศาสตร์นั้นมีความท้าทาย การเริ่มต้นในแต่ละบทเรียน ครูต้องนำวิธีการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่แฝงอยู่ในงานศิลปะมาใช้ เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ในสิ่งคุ้นเคยก่อนนำไปสู่การเชื่อมโยงเนื้อหาทางด้านสุนทรียภาพของศิลปะ โดยออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละสัปดาห์ไม่ซ้ำกันเพื่อกระตุ้นความสนใจใคร่รู้ให้กับนักเรียน สไลด์ประกอบการเรียนรู้นั้นเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้นักเรียนเกิดความซาบซึ้งในบทเรียนได้เป็นอย่างดี ซึ่งสไลด์ที่สวยทำให้บทเรียนนั้นน่าเรียน แต่ถ้าสไลด์นั้นมีความรู้สึกด้วย จะทำให้นักเรียนเกิดความซาบซึ้งในเนื้อหานั้น และสุดท้ายการกระตุ้นฉันทะในการเรียนรู้ของนักเรียน เป็นสิ่งสำคัญกว่าการถ่ายทอดความรู้ของครูในชั้นเรียน

กิจกรรมและเกมตอบคำถาม ช่วยฝึกฝนทักษะอื่นนอกจากฟังบรรยาย

— ดร.จิโรจน์ แสงรัตนประเสริฐ — 
ครูชีววิทยา สาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ใช้คำที่เข้าใจง่าย เปรียบเทียบกับสิ่งที่คุ้นเคย ดึง Jamboard ใช้แทนกระดาน

— อาจารย์อมรศรี อมรวัชรพงศ์ — 
ครูคณิตศาสตร์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ

“ด้วยเวลาที่จำกัดมากในห้องเรียน และต้องการให้นักเรียนทำกิจกรรมนอกเหนือจากการฟังบรรยายอย่างเดียว จึงใช้เครื่องมือสร้างเกมตอบคำถาม หรือสร้างกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ เช่น Quizizz, Wordwall หรือบางหัวข้อนักเรียนสามารถทำปฏิบัติการง่าย ๆ ที่บ้านได้ และนักเรียนอยากทดลองทำ ก็จะแนะนำการเตรียมอุปกรณ์ทำที่บ้านตามความสมัครใจ เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะอื่น นอกเหนือจากการฟังบรรยาย”

พยายามใช้คำพูดที่เข้าใจได้ง่ายๆ เปรียบเทียบสิ่งที่ดูซับซ้อนกับสิ่งที่นักเรียนคุ้นเคยในชีวิต และนำ Jamboard มาใช้แทนกระดาน  โดยมีข้อดีคือ นักเรียนสามารถย้อนกลับไปดูที่เราเขียนไว้ได้ ไม่ถูกลบไปเหมือนกระดาน เปิดโอกาสให้นักเรียนมาช่วยกันเขียน บางทีเด็กๆ ก็ช่วยวาดรูป เอามุกคำพูดขำๆบางอย่างมาช่วยแปะไว้ ก็ทำให้บรรยากาศดูไม่เครียด

ใช้เกมหรือ Application ที่เหมาะกับเนื้อหา เปิดให้นักเรียนได้ระดมความคิดและแสดงผลงานผ่านกิจกรรม

— อาจารย์สุภาพัชร์ สินกันทรากร —
German and English Teacher, Foreign Language Department

สำหรับการสอน Online ในวิชาภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมัน มีการใช้ Breakout rooms ในกิจกรรมกลุ่มย่อย เช่น Interview, Brainstorming หรือ Discussion ก่อนที่นักเรียนจะแชร์กันใน Google Meet กลุ่มใหญ่ โดยใช้ Jamboard หรือ Padlet ในการระดมความคิดและแสดงผลงานของนักเรียน Feedback หนึ่งที่ได้รับจากการสอบถามนักเรียนก็คือ นอกจากวิดีโอสรุปของคุณครู อยากให้มีเกมทบทวนคำศัพท์หรือเนื้อหาในแต่ละหัวข้อ โดยเกมหรือ Application ที่ใช้ จะเลือกปรับเปลี่ยนไปตามความเหมาะสมของเนื้อหา เช่น Duolingo, Kahoot, Lern Deutsch, Quizziz และ Vonder Go! เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการประกวดแข่งขันกิจกรรมต่าง ๆ อย่างที่เพิ่งผ่านไป คือ English Competitions และ Spooktacular Halloween และที่ coming soon ก็คือ Christmas Activities ซึ่งแน่นอนว่านักเรียนจะได้เรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม ฝึกฝนภาษาต่างประเทศ และได้รับความสนุกสนานไปพร้อม ๆ กัน

“ทุกคำถามมีค่า” ท้าทายเด็กให้ถามตลอด ควบคู่กับการใช้ Game based Learing

— อาจารย์ธวัชชัย สุลาลัย —
ครูภาษาไทย สาขาศิลปศาสตร์

“ผมมีแนวคิดใหม่ ใช้เกมนำในการสอน (Game based Learning)  ปกติครูทุกคนอยากให้เด็กสนุกกับการเรียน เราเอาเกมมาสอดแทรก แต่พอเป็น Game based Learning เราจะคิดเกมขึ้นก่อนแล้วค่อยใส่เนื้อหา ซึ่งในยุคออนไลน์ เราไม่สามารถจะมาเล่นเกมกับเด็กๆ ได้ เพราะว่าเจอกันผ่านหน้าจอ เราเลยต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมโดยยังคงใช้ Game based Learing เพื่อให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับเรามากขึ้น  ผมใช้ว่า“ทุกคำถามมีค่า” ผมท้าทายเด็กตลอด คำถามทุกคำถามผมให้ 1 คะแนน และถ้าเป็นคำถามที่ผมอยากได้ยินผมให้คะแนนพิเศษ การทำแบบนี้ทำให้นักเรียนตั้งใจฟังตลอดคาบ เพราะจะได้ถามเกี่ยวกับเนื้อหา และเดาใจผู้สอนว่าครูอยากให้ถามเรื่องอะไร ปกติเราจะเปิดโอกาสให้เด็กถามช่วงเวลา 5 นาทีสุดท้าย ซึ่งช่วงเวลานั้นการเรียนรู้ของเขาจบแล้ว ทุกคนอยากไปเรียนวิชาใหม่ แต่การเรียนในช่วงออนไลน์ ผมบอกให้เปิดไมค์ถามได้เลย ยิ่งนักเรียนถามตรงที่ไม่เข้าใจ เพื่อนก็จะยิ่งจำ และเพื่อนสามารถถามคำถามต่อได้เรื่อยๆ เพราะฉะนั้น ทุกคำถามมีค่ามาก ไม่เฉพาะกับนักเรียนแต่กับเพื่อนด้วย การท้าทายเด็กแบบนี้ทำให้เขามีความผูกพันกับเราตลอดคาบ”

We uses cookies to improve the functionality, performance, and effectiveness of our communications, detailed in our Privacy Policy. By continuing to use this site, or by clicking "Agree," you consent to the use of cookies.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ Settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ - Session Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies are essential to provide You with services available through the Website and to enable You to use some of its features. They help to authenticate users and prevent fraudulent use of user accounts. Without these Cookies, the services that You have asked for cannot be provided, and We only use these Cookies to provide You with those services.

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytical Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ - Persistent Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies allow us to remember choices You make when You use the Website, such as remembering your login details or language preference. The purpose of these Cookies is to provide You with a more personal experience and to avoid You having to re-enter your preferences every time You use the Website.

Save