ก.น. ในยุคโควิด

“ก.น.” คือใคร

ทำไมเด็ก ๆ ชอบพูดถึง ก.น.

จริง ๆ แล้ว “ก.น.” เป็นคำเรียกสั้น ๆ ที่เด็ก MWIT ใช้เรียก “กรรมการสภานักเรียน” ซึ่งเป็นกลุ่มนักเรียนที่อาสาเข้ามามีบทบาทในการจัดกิจกรรมนักเรียน รวมถึงประสานงานกับโรงเรียนในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นเสมือนคนกลางที่ประสานเรื่องราวระหว่างคุณครูและเพื่อนนักเรียนเข้าด้วยกัน

แม้ว่ากรรมการสภานักเรียนจะทำงานเป็นทีม แต่กลไกหลักของการขับเคลื่อนย่อมมาจากทีมผู้นำ วันนี้เราจะไปทำความรู้จักพวกเขากัน

(จากซ้ายไปขวา) นายเขมจิรัฎฐ์ เฮงสวัสดิ์ นายวัชรพงศ์ ทิมคล้ายพชร และ นายธนาทิตย์ ประดับไทย

“ไดมอนด์” วัชรพงศ์ ทิมคล้ายพชร ประธานนักเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 คือผู้ที่ชวน “เจฟฟรี่” เขมจิรัฎฐ์ เฮงสวัสดิ์ และ “ทิตย์” ธนาทิตย์ ประดับไทย มาทำงานร่วมกันในฐานะรองประธานนักเรียน โดยทั้งสามคนต่างเคยร่วมงานกันมาก่อนในการเป็นผู้นำกิจกรรมกีฬาสี  เมื่อทั้งหมดต่างมีความสนใจและความมุ่งมั่นที่อยากจะพัฒนาสิ่งต่าง ๆ เพื่อโรงเรียน บทบาทหน้าที่ “กรรมการสภานักเรียน” จึงตอบโจทย์ความต้องการของพวกเขา

เริ่มต้นหน้าที่กรรมการสภานักเรียนในรูปแบบออนไลน์

“ไดมอนด์” นายวัชรพงศ์ ทิมคล้ายพชร
— ประธานนักเรียน —

📌 ไดมอนด์ 
พวกเราเริ่มทำหน้าที่กรรมการสภานักเรียนกันมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว โดยหลัก ๆ คือ การช่วยอาจารย์จัดกิจกรรมต่าง ๆ พร้อมทั้งร่วมแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นของนักเรียนครับ โดยตอนที่ทำงานออนไลน์ จะประชุมทางออนไลน์ และใช้พวกแพลตฟอร์ม อย่างเช่น Google Drive แชร์ข้อมูลร่วมกัน ส่วนใหญ่เราจะแบ่งกลุ่มต่าง ๆ ให้เล็กที่สุด เราจะได้คุยกันง่าย เพราะว่าอุปสรรคเรื่องสื่อสารเป็นอุปสรรคที่ใหญ่ระดับหนึ่งเลย

ที่ผ่านมาเราได้ร่วมจัดกิจกรรมโรงเรียน อย่าง MWIT Open House และกิจกรรมไหว้ครู ส่วนการสื่อสารของนักเรียน เรามีกลุ่ม Facebook นักเรียนทั้งโรงเรียน 720 คน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กรรมการสภานักเรียนสร้างขึ้นมา สำหรับประชาสัมพันธ์กิจกรรม คุยงานกัน รวมถึงบางครั้งทำแบบสอบถามถามถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เราได้สร้างโพลสำรวจ และจะดำเนินการต่อถ้าเห็นว่าสมควร

เป้าหมายของกรรมการสภานักเรียน

📌 เจฟฟรี่ 
ทีมงานของกรรมการสภานักเรียนมีเป้าหมายที่จะสร้างความสัมพันธ์ (Interact) ระหว่างอาจารย์ นักเรียน รุ่นพี่รุ่นน้อง เป็นความสัมพันธ์อันดีที่ MWIT เคยมี แต่มีการเปลี่ยนรูปแบบไปตอนออนไลน์ ทีนี้การทำกิจกรรมต่างๆ จึงมีเป้าหมายให้หลายๆ คน ได้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมร่วมกันจึงเป็นเรื่องท้าทาย มีโปรเจกต์ต่างๆ ที่ กรรมการสภานักเรียนได้ช่วยกันคิดขึ้น เพื่อจะสร้าง Interaction เหล่านั้นขึ้นมา และสานสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอก MWIT

📌 ทิตย์ 
ตอนที่เราจัดกิจกรรมแนะแนวการเลือกหัวข้อโครงงานให้น้อง ๆ ม.4 เพราะน้องยังไม่ได้เข้าโรงเรียน น้อง ๆ ก็ได้มีโอกาสคุยกัน ได้เข้าไปฟังหัวข้อที่น่าสนใจจากอาจารย์แต่ละสาขาวิชา เมื่อต้องส่งข้อเสนอโครงงาน ทำให้น้องเลือกหัวข้อได้ทันและเป็นหัวข้อที่ตนเองสนใจ

บทบาทผู้นำทีมที่ไม่ได้เป็นแค่หนึ่งแต่มีถึงสาม

📌 ไดมอนด์
ส่วนใหญ่เวลาเรารับงานเข้ามา เราจะมาดูรายละเอียดว่า ตรงไหนต้องทำอะไรบ้าง ตรงไหนต้องใช้แรงเยอะ ผม ทิตย์ เจฟ เราเหมือนเป็นผู้นำทั้งสามคนเลย ไม่ใช่ว่าผมเป็นผู้นำของกรรมการสภานักเรียนคนเดียว ผมไว้วางใจเพื่อนอีกสองคนด้วย ผมเลยมั่นใจที่จะแบ่งงานออกเป็นสามส่วนได้ ทำให้เราสื่อสารได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะช่วงออนไลน์ ถ้าพูดง่ายๆ คือ พอรับงานมาจะแบ่งออกเป็นสามส่วน ให้แต่ละคนมีหน้าที่ของตนเอง และให้กรรมการที่เหลือเป็นเพื่อนร่วมทีมของเราสามคนและช่วยกันทำงาน

ความท้าทายในการจัด MWIT Open House สร้างประสบการณ์ใหม่ในการทำงาน

“เจฟฟรี่” นายเขมจิรัฎฐ์ เฮงสวัสดิ์
— รองประธานนักเรียน –

📌 เจฟฟรี่ 
โรงเรียนให้โอกาสคณะกรรมการสภานักเรียนได้ออกแบบการจัดกิจกรรมที่ค่อนข้างเปิดกว้าง ทำให้กรรมการสภานักเรียนต้องประชุมร่วมกัน เพื่อให้กิจกรรมมีความครอบคลุมและเข้าถึงคนหลายกลุ่ม เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ จากนั้นจึงแบ่งคณะทำงานเพื่อจะลงรายละเอียดต่าง ๆ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และมีการเชิญอาจารย์มาเป็นที่ปรึกษาในแต่ละกิจกรรม

ซึ่งการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ เรามองว่าเป็นเรื่องใหม่ ค่อนข้างที่จะท้าทาย ในการทำให้ผู้ร่วมงานและผู้จัดงานมีปฏิสัมพันธ์ในกิจกรรมร่วมกันได้ กิจกรรมต่างๆ ที่เราคิดมา ไม่ว่าจะการเชิญศิษย์เก่ามาพูดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หรือ Lab@Home ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนสามารถทำแลปจากที่บ้านได้ นอกจากนี้ยังมีหลายๆ สิ่งที่ไม่เคยคิดว่าจะได้ทำมาก่อน เช่น การเขียนเว็บไซต์ การประสานงานกับศิษย์เก่า การถ่ายทอดสดการนำเสนอโครงงาน

📌 ไดมอนด์
เรามีเค้าโครงเดิมในการจัดงานOpen Houseแต่ปัญหาคือครั้งนี้เป็นออนไลน์ เราจะต้องคิดกิจกรรมใหม่ ดังนั้น เราแบ่งคณะทำงานตามเค้าโครงเดิมก่อน พอทราบจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง ก็จะประเมินว่า การมีปฏิสัมพันธ์ของผู้ร่วมกิจกรรมระหว่างการจัดออนไลน์กับจัดที่โรงเรียนมีความแตกต่างกันอย่างไร แล้วค่อยมาปรับคณะทำงานใหม่ แบ่งใหม่หมดเลยแต่ยังคงเค้าโครงเดิม และเมื่อออกแบบกิจกรรมเสร็จ ได้มีการนำเสนอกับคุณครู เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะ และดำเนินการตามแผนที่วางไว้

📌 ทิตย์ 

หลังจากจัดกิจกรรมเสร็จแล้ว สิ่งที่เราได้เห็นหลังจากไปดูประมวลภาพย้อนหลังแล้ว น้อง ๆ ทุกคนตั้งใจมาก สนุกกับการทำกิจกรรมร่วมไปกับคุณครู รู้สึกว่าสิ่งที่เราทำไปไม่เสียเปล่า น้อง ๆ ได้ประโยชน์ และมีความสุขกับกิจกรรมที่เราจัดขึ้น

ความยากของการจัด MWIT Open House แบบออนไลน์

📌 ไดมอนด์
คนที่มาร่วมกิจกรรม Open House เขาอยากจะมาลองใช้ชีวิตในโรงเรียน อยากรู้ว่า MWIT เป็นอย่างไร พอเป็นออนไลน์เราจะต้องแปลงเป็นดิจิทัลหมดเลย เช่น ถ้าเราจะนำเสนอโรงเรียน ก็ต้องถ่ายวิดีโอ ซึ่งมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป รวมไปถึงการสร้างกิจกรรมที่ใช้ออนไลน์เป็นหลัก โดยผ่านแพลตฟอร์มที่ไม่ใช่ของเรา ถ้าถามว่ายากตรงไหน ก็ยากตรงที่ต้องพึ่งพาดิจิทัลมากเกินไป อาจจะไม่มีกึ่งกลางที่เหมาะสมกับการทำงานของเรา

📌 ทิตย์  
สิ่งที่ยากที่สุด คือ การตัดสินใจ ซึ่งลำดับขั้นการตัดสินใจมีหลายระดับ ถ้าเป็นไปได้ช้า ก็จะทำให้ไม่มีความชัดเจน และดำเนินการไปได้ช้า

📌 เจฟฟรี่  
การจัดกิจกรรมแบบออนไลน์ ทำให้ไม่เห็นหน้าตรง ๆ และการสื่อสารแต่ละขั้นตอนต้องใช้เวลา

แผนกิจกรรมหลังจากนี้…เพื่อเพื่อน MWIT

📌 ทิตย์ 
 เมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เราได้จัดทำ Podcast ไป 3 episode และได้เผยแพร่ผ่านทาง spotify และ youtube ของกรรมการนักเรียน (MWIT SC) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นรายการสัมภาษณ์เรื่องราวต่าง ๆ ทั้งในรั้วและนอกรั้วของชีวิตการเป็นนักเรียน MWIT เช่น กิจกรรมกีฬาสี การเป็นนักเรียนแพทย์และนักเขียนไปควบคู่กัน หรือเส้นทางสู่ชีววิทยาโอลิมปิก ฝากทุกคนไปติดตามกันได้นะครับ

📌 ไดมอนด์
หลังจากที่ได้ทำงานต่าง ๆ ไปแล้ว เรายังมีงานที่วางแผนไว้ตอนหาเสียงเลือกตั้ง อย่างการประกวดวงดนตรีภายในโรงเรียน “MWIT Music Contest” ซึ่งรายละเอียดสามารถติดตามได้ทางกลุ่ม Facebook ของพวกเราเลยครับ

“ทิตย์” นายธนาทิตย์ ประดับไทย
— รองประธานนักเรียน –

บรรยากาศการประชุมงาน ในช่วงเตรียมการจัดงาน MWIT Open House 2021

แม้ว่าที่ผ่านมาการทำงานของคณะกรรมการสภานักเรียนชุดนี้จะต้องทำงานผ่านระบบออนไลน์เป็นหลัก แต่โควิด-19 ไม่ได้หยุดยั้งกระบวนการเรียนรู้ในด้านการบริหารจัดการของพวกเขาเลย แต่กลับสร้างความท้าทายในการทำงานรูปแบบใหม่ให้แทน  เชื่อว่าหลังจากนี้ พวกเขาจะยังคงพัฒนาและสร้างสรรค์กิจกรรมที่โดนใจเพื่อน ๆ MWIT ไปจนจบปีการศึกษานี้ 

ติดตามความเคลื่อนไหวของพวกเขาได้ที่

Facebook : https://www.facebook.com/mwitstudentcommittee/

Instagram :  https://www.instagram.com/mwit.sc

We uses cookies to improve the functionality, performance, and effectiveness of our communications, detailed in our Privacy Policy. By continuing to use this site, or by clicking "Agree," you consent to the use of cookies.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ Settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ - Session Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies are essential to provide You with services available through the Website and to enable You to use some of its features. They help to authenticate users and prevent fraudulent use of user accounts. Without these Cookies, the services that You have asked for cannot be provided, and We only use these Cookies to provide You with those services.

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytical Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ - Persistent Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies allow us to remember choices You make when You use the Website, such as remembering your login details or language preference. The purpose of these Cookies is to provide You with a more personal experience and to avoid You having to re-enter your preferences every time You use the Website.

Save