นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์คว้า 5 เหรียญทอง จากการประกวดโครงงานและนวัตกรรมระดับนานาชาติ Borneo International Innovation Creativity Competition 2025 (BIICC) ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 19 พฤษภาคม – 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
Borneo International Innovation Creativity Competition 2025 (BIICC) เป็นเวทีการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ จัดโดย Malaysia Young Scientists Organization (MYSO) สหพันธรัฐมาเลเซีย องค์กรที่มีพันธกิจในการส่งเสริมการคิดเชิงวิจัยในหมู่นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาของสหพันธรัฐมาเลเซีย และสนับสนุนบุคลากรทางการศึกษาในการพัฒนาศักยภาพของตนในด้านการวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ ด้วยเหตุนี้ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และนักศึกษามหาวิทยาลัยจากทั่วโลกจึงได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยและโครงงานด้านวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาทักษะการวิจัยและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานนวัตกรรม
การจัดงานในปีนี้ มีผลงานจากประเทศต่าง ๆ ประกอบด้วย สหพันธรัฐบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา เติร์กเมนิสถาน สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โรมาเนีย สาธารณรัฐเอลซัลวาดอร์ สาธารณรัฐคาซัคสถาน สาธารณรัฐโปรตุเกส สาธารณรัฐมอลโดวา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ราชอาณาจักรไทย และสหพันธรัฐมาเลเซีย ส่งเข้าประกวดทั้งสิ้น 1,268 ผลงาน โดยผลงานวิจัยหรือโครงงานทั้งหมดจะเกี่ยวข้องกับ Social Science, Life Science, Environmental Science, Physics/Mathematics Engineering, Computer Science, Artificial Intelligence หรือ Applied Science
ในการนี้ นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในรูปแบบออนไลน์ จำนวน 6 โครงงาน และได้รับรางวัลดังนี้
- โครงงานสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพเรื่อง “Development of Electronic nose to estimate metabolic syndrome” นำเสนอโดย นางสาวณภัทร อึ่งทอง นักเรียนชั้น ม.6/8 และ นางสาวซิซีเลีย เฮลส์วิค นักเรียนชั้น ม.6/2 โดยมี อาจารย์ทิพนาถ น้อยแก้ว ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพเรื่อง “Crude extract from bacteria from rhizosphere soil of banana to inhibit Colletotrichum gloeosporioides caused of anthracnose in chilli” นำเสนอโดย นายพันธุ์ระพี เตียวสกุล นักเรียนชั้น ม.6/10 และ นายธนกร พุ่มโพธิงาม นักเรียนชั้น ม.6/10 โดยมี ดร.อรวรรณ ปิยะบุญ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขาวิชาเคมีเรื่อง “Adaptive Nursery and Planting for Rhizophoraceae in Intense Intertidal Zone Using Sustainable Materials” นำเสนอโดย นายจอมไท โตทับเที่ยง นักเรียนชั้น ม.6/7 นางสาวนพภัสสร ทนงาน นักเรียนชั้น ม.6/10 และ นายธนวรรธน์ มาลัย นักเรียนชั้น ม.6/10 โดยมี อาจารย์วีรวุฒิ เทียนขาว ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขาวิชาเคมีเรื่อง “The study and development of activated white charcoal with magnetic properties for absorbing heavy metals from industrial wastewater”นำเสนอโดย นายสิรวิชญ์ สุบงกช นักเรียนชั้น ม.6/4 และ นายอานันท์ ช่างเพชร นักเรียนชั้น ม.6/3 โดยมี ดร.สาโรจน์ บุญเส็ง ครูสาขาวิชาเคมี และ ผศ.ดร.นุชนาพร พิจารณ์ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพเรื่อง “Development of Biopolymer Hydrogel from Cassava Starch and Natural Rubber Using Calcium Chloride as a Crosslinking Agent” นำเสนอโดย นางสาวจิราภิมน เจริญเนตรกุล นักเรียนชั้น ม.6/3 โดยมี อาจารย์พิมพ์เพ็ญ เธียรสิทธิพงศ์ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพเรื่อง “Development of composite plastic materials from microplastics to create dog leg splints” นำเสนอโดย นางสาวปานรวี ทองพูล นักเรียนชั้น ม.6/1 นางสาวธัญธร ลีพงษ์ นักเรียนชั้น ม.6/2 และ นางสาวณฐมน สกุลณี นักเรียนชั้น ม.6/3 โดยมี อาจารย์เมษสุวัลย์ พงษ์ประมูล ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน