ในการแข่งขันนำเสนอโครงงานระดับนานาชาติ Kolmogorov Readings 2025 ระหว่างวันที่ 2–5 พฤษภาคม พ.ศ. 2568 นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้เข้าร่วมแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ และคว้ารางวัลมาได้ 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน 2 เหรียญทองแดง และ 2 รางวัลชมเชย
การแข่งขันนำเสนอโครงงานระดับนานาชาติ Kolmogorov Readings 2025 จัดโดย The Advanced Education and Science Center (AESC) of Moscow State University (Kolmogorov School) กรุงมอสโค สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นการแข่งขันนำเสนอโครงงานใน 6 สาขา ประกอบด้วย Mathematics, Physics, Computer science and Mathematical Modeling, Chemistry, Biology และ Humanities โดยในปีนี้ ผู้จัดงานจัดขึ้นในรูปแบบ Hybrid ทำให้มีผู้ร่วมงานทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์
สำหรับนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์นั้น ได้เข้าร่วมนำเสนอในรูปแบบออนไลน์ พร้อมกับเพื่อน ๆ อีก 5 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐเบลารุส สาธารณรัฐคาซัคสถาน สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี และ สหพันธรัฐรัสเซีย โดยครั้งนี้ มีนักเรียนร่วมงานถึง 199 คน ในการนำเสนอโครงงานที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 150 โครงงาน ซึ่งผลการแข่งขัน มีดังนี้
- โครงงานสาขา Chemistry เรื่อง “Study of the Efficiency of Deep Neural Network Models and Kolmogorov–Arnold Networks for Classifying Individuals at Risk of Heart Diseases Using Stethoscope Sound” นำเสนอโดย นางสาวสิรินุช ศรัทธาบุญ นักเรียนชั้น ม.6/7 นายธัญพิสิษฐ์ บวรธรรมทัศน์ นักเรียนชั้น ม.6/7 และ นายศุภกร เธียรจินดากุล นักเรียนชั้น ม.6/7 โดยมี ดร.ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขา Chemistry เรื่อง “The Development of Thermosensitive Hydrogel Containing Clinacanthus Nutans (Burm.F.) Lindau Extracts for Oral Mucositis Treatment” นำเสนอโดย นางสาววนัชพร สุทธิพิริยะหทัย นักเรียนชั้น ม.6/2 นางสาวปุญญ์ จันทรังสิกุล นักเรียนชั้น ม.6/7 และ นางสาวนันทภัค หงษ์พานิช นักเรียนชั้น ม.6/8 โดยมี ดร.ณุจุฑา ธรรมสุเมธ ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขา Physics เรื่อง “A Drug Delivery Capsule Endoscopy with Drug Delivery Mechanism Using Shape Memory Alloys” นำเสนอโดย นายปัณณวิชญ์ ยรรยงสวัสดิ์ นักเรียนชั้น ม.6/1 นายพศวีร์ เกรวัล นักเรียนชั้น ม.6/1 และ นายกฤติโชค ขันทีท้าว นักเรียนชั้น ม.6/7 โดยมี ดร.รุ่งโรจน์ ทวยเจริญ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขา Chemistry เรื่อง “Hydroxyapatite/Tri-Calcium Phosphate (HAp/TCP) 3D Porous Scaffold Composites Coated with Carboxymethyl Cellulose” นำเสนอโดย นายกรัณ คล้ำชื่น นักเรียนชั้น ม.6/2 นางสาวกฤษกะรัต แก้วน้อย นักเรียนชั้น ม.6/2 และ นายศุภฤกษ์ ยอดมุณี นักเรียนชั้น ม.6/2 โดยมี ดร.ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขาวิชา Physics เรื่อง “Effects of NACA Four-Digit Airfoil Shapes on Aerodynamic Performance” นำเสนอโดย นางสาวณัฏฐ์ฎาพร ทองพันธ์ นักเรียนชั้น ม.6/6 โดยมี ดร.นิทัศน์ ศรีพงษ์พันธ์ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขา Computer Science and Mathematical Modeling เรื่อง “Study of the Efficiency of Deep Neural Network Models and Kolmogorov–Arnold Networks for Classifying Individuals at Risk of Heart Diseases Using Stethoscope Sound” นำเสนอโดย นายภูรินทร์ สมบัติธนสุข นักเรียนชั้น ม.6/2 และ นายณวรรฒ ทรวงบูรณกุล นักเรียนชั้น ม.6/2 โดยมี ดร.ศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์ ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขาวิชา Computer Science and Mathematical Modeling เรื่อง “Developing an Application to Forecast Pollen Concentration from Past Meteorological Factors Using Deep Learning in Kansai Region, Japan” นำเสนอโดย นายศุภกฤฒ สุขานนท์สวัสดิ์ นักเรียนชั้น ม.6/7 นายปพนศักดิ์ สุขเสรีทรัพย์ นักเรียนชั้น ม.6/1 และ นายอัครภาคย์ ก้องศิริวงศ์ นักเรียนชั้น ม.6/10 โดยมี ดร.สิทธิโชค โสมอ่ำ ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน