คณะครูและนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ร่วมนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการระดับนานาชาติ Pure and Applied Chemistry International Conference 2025 (PACCON 2025) ระหว่างวันที่ 13-15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ณ Khao Yai Convention Center จังหวัดนครราชสีมา
การประชุมวิชาการนานาชาติ Pure and Applied Chemistry International Conference 2025 (PACCON 2025) จัดโดย สมาคมเคมีแห่งประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ภายใต้หัวข้อ “Chemistry for a Changing World” โดยมีผู้สนใจร่วมส่งบทคัดย่อเพื่อนำเสนอ ผลงานวิจัยทั้งในรูปแบบบรรยายและโปสเตอร์ กว่า 616 เรื่อง แบ่งเป็น Invited talk 117 เรื่อง Oral Presentation 147 เรื่อง และ Poster Presentation 352 เรื่อง
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้ส่งโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียน จำนวน 9 โครงงาน และ ผลงานครู จำนวน 5 ผลงาน เข้าร่วมนำเสนอผลงาน พร้อมกับ รับฟังการบรรยายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้มุมมองด้านวิชาการและเรียนรู้วิทยาการใหม่ ๆ ด้านเคมี ร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัย โอกาสนี้ มีโครงงานของนักเรียนจำนวน 1 โครงงาน ได้รับรางวัล Best Poster Presentation in Analytical Chemistry จากการนำเสนอภาคโปสเตอร์ ในเรื่อง “Development of colorimetric device for the cortisol detection using cysteine functionalized gold nanoparticles” ซึ่งนำเสนอโดย นางสาวเกศกมล เหมันต์ นักเรียนชั้น ม.5/2 นายชูโชค ซิมตระการกุล นักเรียนชั้น ม.5/2 และ นางสาวชญาภา บางยี่ขัน นักเรียนชั้น ม.5/9 โดยมี ดร.ณุจุฑา ธรรมสุเมธ ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.สุดเขต ไชโย นักวิจัย จาก สถาบันวิจัยเทคโนโลยี ชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
นอกจากนี้ ยังมีผลงานนักเรียนและครูที่ร่วมนำเสนอ ดังนี้
- โครงงานเรื่อง “Design of new anticancer inhibitors based on the amide of cinnamaldehyde skeleton: Drug-likeness, pharmacokinetic properties, and molecular docking studies” นำเสนอโดย นายภีร์กวิน เจริญธรรมรักษา นักเรียนชั้น ม.5/9 นายโชคชัย วัฒนนามกุล นักเรียนชั้น ม.5/9 และ นายณิชกุล ตันบุญเอก นักเรียนชั้น ม.5/9 มี ดร.สรชัย แซ่ลิ่ม และ ดร.สิริหทัย ศรีขวัญใจ ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “Design of ester derivatives of cinnamic acid, inhibitory mode of action of Anti-Alzheimer’s activities, molecular docking studies, and drug-likeness.” นำเสนอโดย นายฐิติพันธ์ พฤฒิพิบูลธรรม นักเรียนชั้น ม.5/3 นายณธีนนท์ ป้อมหิน นักเรียนชั้น ม.5/3 และ นายวรบดินทร์ วรโชตินันโภคิน นักเรียนชั้น ม.5/3 มี ดร.สิริหทัย ศรีขวัญใจ และ ดร.สรชัย แซ่ลิ่ม ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “The study of the synthesis of silica nanoparticles and the encapsulation of curcumin extract for use as a prototype drug delivery system” นำเสนอโดย นายศุภกร เธียรจินดากุล นักเรียนชั้น ม.5/2 นายธัญพิสิษฐ์ บวรธรรมทัศน์ นักเรียนชั้น ม.5/2 และ น.ส.สิรินุช ศรัทธาบุญ นักเรียนชั้น ม.5/7 มี ดร.ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “Metal-organic framework (MOF) derived from metal ion and depolymerization product of PET waste for studying the efficiency of sulfate adsorption toward circular economy.” นำเสนอโดย นายจิณณพัต กัลยา นักเรียนชั้น ม.5/9 มี ดร.อุษา จีนเจนกิจ ครูสาขาวิชาเคมี และ รศ.ดร.ปกรณ์ โอภาประกาสิต จาก สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “Design, Ester derivatives of Ibuprofen, Molecular Docking Studies of Anticancer Activities by using the α/β Tubulins (1TUB) protein and Drug-Likeness” นำเสนอโดย น.ส.อรรถยา วิศวกรวิศิษฎ์ นักเรียนชั้น ม.5/10 มี ดร.สรชัย แซ่ลิ่ม และ ดร.สิริหทัย ศรีขวัญใจ ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “Phytochemical analysis, anticancer property from the twigs of Mangifera odorata extracts: In Silico Modelling Approaches” นำเสนอโดย นายญาณวรุตม์ ซอง นักเรียนชั้น ม.5/4 นายปัณณธร ชื่นชอบ นักเรียนชั้น ม.5/5 และ นายวีระสิทธิ จันทร์แสงศรี นักเรียนชั้น ม.5/3 มี ดร.สรชัย แซ่ลิ่ม ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.โอภาส พระเทพ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “Exploration of a library of paracetamol possessing variable ester derivatives as potent antibacterial activity by using molecular docking studies” นำเสนอโดย นายณพวุฒิ ฉายากุล นักเรียนชั้น ม.5/8 มี ดร.สิริหทัย ศรีขวัญใจ และ ดร.สรชัย แซ่ลิ่ม ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “Design, and molecular docking studies of amide derivatives of Ibuprofen and drug-likeness of anti-Alzheimer properties โดย นายชยพล โชคนำพร นักเรียนชั้น ม.5/6 นายปวริศ อุดมเดชวัฒน นักเรียนชั้น ม.5/6 และ นายรวีเกตุการณ์ เกตุการณ์ นักเรียนชั้น ม.5/6 มี ดร.สิริหทัย ศรีขวัญใจ และ ดร.สรชัย แซ่ลิ่ม ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- ผลงานเรื่อง “Exploring Color Dynamics of Oscillations and Chemical Waves in the Belousov-Zhabotinsky (BZ) Reaction: A School Laboratory Experiment” โดย ดร.ศุภรินทร อนุพงศ์
- ผลงานเรื่อง “Enhancing high school students’ understanding using AI-powered educational tools: A case study in introductory quantum chemistry” โดย ดร.สาโรจน์ บุญเส็ง และ ดร.ศุภรินทร อนุพงศ์
- ผลงานเรื่อง “Evaluating the effectiveness of the ‘MWIT VSEPR Card Game’ in enhancing high school students’ understanding of VSEPR theory” โดย ดร.ศุภกร ตันติศรียานุรักษ์ ดร.ศุภรินทร อนุพงศ์ และ ดร.ณุจุฑา ธรรมสุเมธ
- ผลงานเรื่อง “Active Learning Strategies and Integrating Knowledge From Actual Experiences in Creating Cosmetic Products from Herbal Plants in The Natural Products Course” โดย ดร.สิริหทัย ศรีขวัญใจ และ ดร.สรชัย แซ่ลิ่ม
- ผลงานเรื่อง “Design, Synthesis, Drug-Likeness, Antibacterial Activities, and Molecular Docking Studies of Ester Derivatives of Gallic acid” โดย ดร.สรชัย แซ่ลิ่ม และ ดร.สิริหทัย ศรีขวัญใจ