คณะครูและนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ร่วมนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 ระหว่างวันที่ 25 – 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ จังหวัดเชียงใหม่
สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 50 (The 50th International Congress on Science, Technology and Technology-based Innovation: STT 50) ภายใต้แนวคิด “Science x Creativity: Crafting the World” มุ่งเน้นการผสานองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ากับความคิดสร้างสรรค์ เพื่อก่อให้เกิดการค้นหาและต่อยอดความรู้ใหม่ๆ ที่ไม่ถูกจำกัดอยู่ในกรอบเดิม เปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีได้แบ่งปันข้อมูล ความเชี่ยวชาญ และสร้างเครือข่ายทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยในปีนี้ มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 1,000 คน จาก 20 ประเทศทั่วโลก ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการแบบบรรยาย (Oral presentation) และการนำเสนอแบบโปสเตอร์ (Poster presentation) ในหลากหลายสาขา อาทิ สาขาฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ เคมี คณิตศาสตร์ พลังงานและสิ่งแวดล้อม และอาหารและวิทยาศาสตร์การเกษตร
ภายในงานนอกจากมีการนำเสนอผลงานวิชาการแล้ว ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ ประกอบด้วย
- การบรรยายพิเศษ 3 หัวข้อ จากนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ 3 ท่าน ได้แก่
1) หัวข้อ DISCOVERY OF ATMOSPHERIC NEUTRINO OSCILLATIONS โดย Prof. Dr. Takaaki Kajita, Institute for Cosmic Ray Research, University of Tokyo, Japan (The Nobel Prize in Physics 2015)
2) หัวข้อ Shrimp Innate Immunity – Discovering Crucial Functions of Immune Molecules and Applications in Disease Control โดย Prof. Dr. Anchalee Tassanakajon, Chulalongkorn University, Thailand (Thailand Outstanding Scientist Award 2024)
3) หัวข้อ Scientific, technological and social solutions for shrimp emerging and re-emerging diseases for sustainable aquaculture in Thailand โดย Dr. Kallaya Sritunyalucksana-Dangtip, The National Center for Genetic Engineering and Biotechnology (BIOTEC), NSTDA, Thailand (Thailand Outstanding Scientist Award 2024) - การประชุมย่อย ซึ่งผู้ร่วมงานจะได้มีส่วนร่วมในการแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการรับมือกับความท้าทายระดับโลก และการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
- การออกบูธนิทรรศการ เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงจากบริษัทต่างๆ
ในการนี้ มีผลงานของคุณครูและนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับการพิจารณาให้ร่วมนำเสนอผลงานวิชาการ ดังนี้
- โครงงานเรื่อง “Predicting Chronic Insomnia using LSTM Technique of Machine Learning” นำเสนอโดย นางสาวปนัณญา สังข์แก้ว นักเรียนชั้น ม.6/7 นางสาวรติญา ภูธรธราช นักเรียนชั้น ม.6/5 และ นางสาวธัญญรัศม์ จิริณีธรรมกุล นักเรียนชั้น ม.6/5 โดยมี ดร.ศิริพร ศักดิ์บุญญารัตน์ และ ดร.บุญนที ศักดิ์บุญญารัตน์ ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน ซึ่งนักเรียนได้รับรางวัล Best Poster Presentation SESSION D: Mathematics/Statistics/Computer Science/Data Science/AI
- โครงงานเรื่อง “Quantum-Enhanced Deep Learning for Predicting PCSK9/NARC-1 Inhibitor Bioactivity: A Novel Approach Towards Coronary Artery Disease Therapy” นำเสนอโดย นางสาวนิตา จงไกรจักร นักเรียนชั้น ม.6/8 นายชนทิวา ชนม์ชนกบุญ นักเรียนชั้น ม.6/8 และ นายกิตติภพ เขียนสา นักเรียนชั้น ม.6/8 โดยมี ดร.สาโรจน์ บุญเส็ง ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.ธนัชกฤศ แก้วเต็ม ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “Designed A Series of New Compounds of Acetanilide Derivatives with Inhibition of Topoisomerase I and II of Breast Cancer Cell” นำเสนอโดย นายปรีชากร ยาสมร นักเรียนชั้น ม.6/5 นายรัชชานนท์ ธีระตระกูลชัย นักเรียนชั้น ม.6/5 และ นายสุทธศิลป์ คุณมงคลวุฒิ นักเรียนชั้น ม.6/5 โดยมี ดร.สรชัย แซ่ลิ่ม ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “Identification of Lichens using Artificial Intelligence” นำเสนอโดย นางสาวพรนัชชา อนุรักษ์ นักเรียนชั้น ม.6/7 และ นางสาวพิมพ์นภัส ศรีพัฒน์พิริยกุล นักเรียนชั้น ม.6/9 โดยมี ดร.พัสวีพิชญ์ รุ่งโรจน์ตระกูล ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “Cellular Automata Based Model to Predict Wildfire Smoke Dispersion” นำเสนอโดย นายสิรวิชญ์ ยกย่อง นักเรียนชั้น ม.6/3 นายณัฐพัชร์ ฉันทโรจน์ศิริ นักเรียนชั้น ม.6/3 และ นายภูวเดช ประยุรธเนศ นักเรียนชั้น ม.6/3 โดยมี อาจารย์เลาขวัญ งามประสิทธิ์ ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ และ ดร.ปราณี ดิษรัฐกิจ หัวหน้าสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน ซึ่งนักเรียนได้รับรางวัล Best Oral Presentation SYMPOSIUM SP13: Harnessing Digital Science and Engineering for Environmental Sustainability จากการนำเสนอ
- โครงงานเรื่อง “2 in 1 Innovative Apparatus for Chemical Detection in Agricultural and Environmental Applications” นำเสนอโดย นายมัทธิว เหมะ นักเรียนชั้น ม.6/2 นายชนกนนท์ กองกันทะ นักเรียนชั้น ม.6/2 และ นางสาวชัญญา จิรภาวสุทธิ์ นักเรียนชั้น ม.6/2 โดยมี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ หัวหน้าสาขาวิชาเคมี และ อาจารย์ชาคริต สมานรักษ์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- ผลงานเรื่อง “Electrical resistivity teaching using graphite pencil line experiment to enhance science competencies” นำเสนอโดย ดร.ปราณี ดิษรัฐกิจ หัวหน้าสาขาวิชาฟิสิกส์
- ผลงานเรื่อง “Microwave-synthesized Cu-Zn(BCD)-MOF: An efficient catalyst for dye degradation” นำเสนอโดย ดร.ดวงแข ศรีคุณ ครูสาขาวิชาเคมี และ Dr. Eun-Young Choi จาก Korea Science Academy of KAIST สาธารณรัฐเกาหลี
- ผลงานเรื่อง “Enhancing data analysis skills for astronomy Olympiad competitors through team-based learning: A case study from Thailand” นำเสนอโดย ดร.ธัญนันท์ สมนาม ครูสาขาวิชาฟิสิกส์
- ผลงานเรื่อง “Comparison of forecasting methods for digital marketing planning: A case study on healthy vegetables” นำเสนอโดย ดร.สุพรรณี เชื้อนุ่น ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ
- ผลงานเรื่อง “Approximating endpoints of multi-valued nonexpansive mappings in uniformly convex hyperbolic spaces using a new iteration process” นำเสนอโดย ว่าที่ร้อยตรี ดร.ถนอมศักดิ์ เหล่ากุล ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ
www.science.cmu.ac.th, https://www.facebook.com/STTscisoc, ธัญนันท์ สมนาม (ข้อมูล/ภาพ)