นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ร่วมนำเสนอโครงงานภายในงาน The World Youth STEM Invention Innovation 2024 (WYSII) ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ในรูปแบบออนไลน์ โดยคว้ามาได้ 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน และ 1 เหรียญทองแดง
The World Youth STEM Invention Innovation (WYSII) เป็นเวทีการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ จัดโดย Malaysia Young Scientists Organization (MYSO) สหพันธรัฐมาเลเซีย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และนักศึกษา จากสถาบันต่าง ๆ ทั่วโลก ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิจัยและโครงงานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์
เพื่อพัฒนาทักษะการวิจัยและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างผลงานนวัตกรรม
ในปีนี้ มีการจัดงานขึ้นในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ภายใต้แนวคิด “Nurturing Ideas, Enculturing Innovation” (การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมอย่างยั่งยืนในอนาคต) โดยมีผู้ร่วมนำเสนอผลงาน จาก 15 ประเทศทั่วโลก รวม 1,329 โครงงาน ใน 7 สาขาวิชา ได้แก่
- Social Science: โครงงานที่เกี่ยวข้องกับด้านสังคมศาสตร์
- Applied Science: โครงงานที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์
- Environmental Science: โครงงานที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- Life Science: โครงงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาชีววิทยา
- Computer Science & Artificial Intelligence: โครงงานที่เกี่ยวข้องกับด้านคอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์
- Physics & Engineering: โครงงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาฟิสิกส์และวิศวกรรม
- Mathematics: โครงงานที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาคณิตศาสตร์
โอกาสนี้ นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงาน จำนวน 4 โครงงาน และได้รับรางวัลดังนี้
- โครงงานสาขาวิชาเคมีเรื่อง “Searching for Possible Substances to Prevent Hypertension in Preeclampsia, by Developing a Model Using Human Umbilical Vein.” ผลงานของ นายณัชพล พานิช นักเรียนชั้น ม.6/6 นายรติ มหามงคล นักเรียนชั้น ม.6/6 และ นางสาววชิรญา ยงกุลวณิช นักเรียนชั้น ม.6/8 โดยมี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ หัวหน้าสาขาวิชาเคมี และ รศ.ดร.พญ.วัฒนา วัฒนาภา จาก ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขาวิชาฟิสิกส์เรื่อง “Results of Using Machine Learning and Score Algorithms to Simulate Automatic Traffic Light according to the Density of Vehicles on the Road.” ผลงานของ นายบุริศร์ วังอนานนท์ นักเรียนชั้น ม.6/1 นายจิรายุ บุญเรือง นักเรียนชั้น ม.6/1 และ นายภวัต ลิลาพันธิสิทธิ นักเรียนชั้น ม.6/1 โดยมี ดร.ปราณี ดิษรัฐกิจ หัวหน้าสาขาวิชาฟิสิกส์ และ ดร.กมลพร กันทะวงค์ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขาวิชาเคมีเรื่อง “Development of a Composite Bone Scaffold Using Chitosan, Alginate, Hydroxyapatite, and K-Carrageenan for Enhanced Tissue Engineering.” ผลงานของ นายสุวภัทร สำรวจเบญจกุล นักเรียนชั้น ม.6/10 นายปัณณพงศ์ กีรติอนันต์พร นักเรียนชั้น ม.6/10 และ นางสาวณัฐวรา แย้มประเสริฐ นักเรียนชั้น ม.6/1 โดยมี ดร.ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา ครูสาขาวิชาเคมี และ ผศ.ดร.ณัฐวุฒิ ชัยยุตต์ จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานสาขาวิชาเคมีเรื่อง “Development of Carbon Ink for Screen-Printed Mesoporous Carbon Electrode for Quantification of Samples.” ผลงานของ นางสาวนวิยา ดีจักรวาล นักเรียนชั้น ม.6/10 นางสาวชนัญชิดา หนูฤทธิ์ นักเรียนชั้น ม.6/10 และ นางสาววรพร อักโข นักเรียนชั้น ม.6/10 โดยมี ดร.ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา ครูสาขาวิชาเคมี และ ผศ.ดร.ภูมิเดช พู่ทองคำ จาก ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาโครงงาน