นักเรียน MWIT เข้ารอบ 10 ทีมสุดท้าย การแข่งขัน GYEC 2024

นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เข้าร่วมการแข่งขันระดับนานาชาติ The Global Youth Entrepreneurship Challenge (GYEC) 2024 ในรูปแบบออนไลน์ โดยทำผลงานได้ดี ติด 1 ใน 10 ทีมสุดท้าย ได้เข้าร่วมแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศ

The Global Youth Entrepreneurship Challenge (GYEC) เป็นเวทีการแข่งขันวิชาการระดับนานาชาติด้านธุรกิจ จัดโดย Center for Entrepreneurship Development ประเทศญี่ปุ่น เปิดโอกาสให้นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาทั่วโลก ได้นำความรู้ ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาสำคัญระดับโลก ผ่านแนวคิดธุรกิจที่ใช้นวัตกรรมอย่างยั่งยืน โดยแต่ละโรงเรียนสามารถส่งนักเรียนที่มีอายุระหว่าง 14-19 ปี เข้าร่วมแข่งขันได้ 1 ทีม ประกอบด้วยสมาชิกทีม 3-8 คน ทั้งนี้ แต่ละประเทศจะสามารถเข้าร่วมแข่งขันได้ไม่เกิน 3 ทีม หากมีผู้สมัครเกิน 3 ทีม จะต้องมีการคัดเลือกตัวแทนประเทศเพื่อให้ได้จำนวนทีมตามที่กำหนด

การแข่งขันครั้งนี้ มีผู้สมัคร 453 ทีม จาก 32 ประเทศ เข้าร่วมแข่งขัน ซึ่งประเทศไทยนั้น มีจำนวนทีมจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ สนใจเข้าร่วมมากกว่า 3 ทีม จึงต้องมีการแข่งขันในรอบคัดเลือก (Preliminary Round) เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2567 โดยมีโจทย์การแข่งขันเกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญในสังคม (Social Issue) ได้แก่ ความยากจน ความหิวโหย การศึกษา พลังงาน และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ เป็นต้น  ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเสนอแนวคิดทางธุรกิจเชิงนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ด้วยวิธีการที่ยั่งยืน โดยใช้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ผู้เข้าแข่งขันทุกทีมจะได้รับโจทย์ในวันที่แข่งขัน และมีเวลาเพียง 12 ชั่วโมง นับตั้งแต่ได้รับโจทย์ ในการออกแบบแนวคิดธุรกิจ ซึ่งสมาชิกในทีมสามารถเข้าร่วมการแข่งขันจากสถานที่เดียวกันหรือผ่านโปรแกรมการประชุมออนไลน์ได้ทั้งสองแบบ  จากนั้น คณะกรรมการตัดสินจะพิจารณาคัดเลือกผลงานตามเกณฑ์ ใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่

  • ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม (Creativity and Innovation)
  • งบประมาณและการผลิต (Finance and Production)
  • การตลาดและการวิจัยตลาด (Marketing and Market Research)
  • การสื่อสาร (Communication)

ซึ่งสุดท้ายแล้ว นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้เป็นตัวแทนประเทศไทย และเข้าร่วมแข่งขันอีกครั้งในรอบชิงชนะเลิศ (Final Round) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ซึ่งใช้ประเด็นสำคัญในสังคมมาเป็นโจทย์การแข่งขันเช่นเดียวกับรอบคัดเลือก

โอกาสนี้ นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้สมัครเข้าร่วมแข่งขัน ด้วยชื่อทีมว่า “CEOld” ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 6 คน

  • นางสาวพัชร์พิชา เลิศวิสิฐพล นักเรียนชั้น ม.6/6
  • นายเตชทัต เล้าสืบสกุล นักเรียนชั้น ม.6/6
  • นายยศวีร์ วรภาสไพบูลย์ นักเรียนชั้น ม.6/6
  • นายสิทธา ศรีรัตนพงษ์ นักเรียนชั้น ม.6/6
  • นายก่ออิชย์กรณ์ จันทร์ฉาย นักเรียนชั้น ม.6/7
  • นายวรัท โสพัศสถิตย์ นักเรียนชั้น ม.6/9

และแม้ว่าการประกาศผลผู้ชนะไปเมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2567 นักเรียนจะไม่ได้รับรางวัล แต่การที่ได้มีโอกาสแข่งขันจนกระทั่งเหลือ 10 ทีมสุดท้าย ล้วนเปิดประสบการณ์ให้กับนักเรียนได้เป็นอย่างมาก

“พวกเราได้รับโจทย์ให้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ในรูปแบบของเกมการศึกษาให้กับเยาวชน โดยต้องระดมความคิดและนำเสนอในรูปแบบโมเดลธุรกิจภายในเวลา 8 ชั่วโมง โดยโปรเจกต์ของพวกเราทำเป็นเกมผู้เล่นคนเดียว โดยใช้การเลือกตัวเลือกที่แตกต่างกันจำลองในระบบจำลองสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นในช่วงสงคราม โดยปกติแล้วเกมแนวสงครามมักให้ผู้เล่นได้รับบทบาทที่ค่อนข้างมีอำนาจ แต่เกมของเราเน้นไปที่การเข้าถึงบทบาทที่อาจถูกลืมว่ามีบทบาทในช่วงสงคราม เช่น นักข่าว แพทย์ ทหาร ชาวบ้านธรรมดา เพื่อให้ได้เข้าใจถึงบทบาทที่แตกต่างกันของอาชีพเหล่านี้”

ติดตามวิดีโอการนำเสนอของนักเรียน ได้ที่ https://youtu.be/20SEAa6js8U?si=dAfYRvbK9x1r7J0n

งานวิเทศสัมพันธ์ (ภาพ/ข้อมูล)

We uses cookies to improve the functionality, performance, and effectiveness of our communications, detailed in our Privacy Policy. By continuing to use this site, or by clicking "Agree," you consent to the use of cookies.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ Settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ - Session Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies are essential to provide You with services available through the Website and to enable You to use some of its features. They help to authenticate users and prevent fraudulent use of user accounts. Without these Cookies, the services that You have asked for cannot be provided, and We only use these Cookies to provide You with those services.

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytical Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ - Persistent Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies allow us to remember choices You make when You use the Website, such as remembering your login details or language preference. The purpose of these Cookies is to provide You with a more personal experience and to avoid You having to re-enter your preferences every time You use the Website.

Save