ความประทับใจของคุณครูจากกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กลุ่มที่ 3 ที่เดินทางมาเรียนรู้การปฏิบัติงานจริงระยะสั้น ระหว่างวันที่ 10-21 มิถุนายน พ.ศ. 2567 ได้ถูกส่งต่อมายังคณะผู้บริหารและคุณครูของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ซึ่งคุณครูโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย จากทั้ง 5 โรงเรียนในรอบนี้ ที่เดินทางกันมาจากจังหวัดชลบุรี เพชรบุรี ปทุมธานี มุกดาหาร บุรีรัมย์ ต่างบอกเล่าถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้และความประทับใจจากการเข้าร่วมกิจกรรมในช่วง 2 สัปดาห์ ที่ผ่านมา
…เราได้เห็นกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่มีรูปแบบ asynchronous และ synchronous ที่ชัดเจนมาก ๆ มีการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน มีการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีคุณภาพเพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบ asynchronous เต็มประสิทธิภาพค่ะ….
ส่วนสิ่งที่จะเอาไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานของตนเองก็คือ จะนำเอารูปแบบของการทำงานของคุณครูและบุคลากรของที่นี่ไปใช้ จะตั้งใจทำงานปฏิบัติการสอนของตัวเองได้อย่างเต็มที่ โดยออกแบบว่ากิจกรรมที่ใช้จะต้องทำอย่างไร จะต้องใช้เทคนิคอะไรจึงจะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมากที่สุด เหมือนแบบอย่างของครูที่นี่ ที่เป็นแบบอย่างให้กับเราค่ะ
….กิจกรรมการจัดการเรียนการสอนที่นี่ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้เด็กมีส่วนร่วม ในลักษณะของ Active Learning ส่วนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของคุณครูที่ได้ประโยชน์ก็คือ ในเรื่องของการทำแล็บ ยกตัวอย่างเช่น แล็บของการไทเทรต ที่ทางเคมีได้เอาเรื่องของการใช้แคลเซียมไปใช้ในยาลดกรด ก็จะนำส่วนนี้นั้น ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องของรายวิชาของโลกศาสตร์ เช่น การหาแคลเซียมในกลุ่มของหิน….
ซึ่งสิ่งที่น่าประทับใจก็คือ รู้สึกว่าในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละครั้ง จะมีการวางแผนพูดคุยประชุมกันมาก่อน และหลังจากการจัดการเรียนการสอนก็มีการมาสะท้อนว่า มีอะไรที่จะต้องปรับแล้วก็พัฒนาในครั้งถัดไปค่ะ แล้วก็ในเรื่องของการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ช่วยในการลดเวลาการวิเคราะห์ผล เพื่อส่งเสริมให้เท่าทันกับยุคสมัยที่การเรียนรู้นั้นเกิดได้เร็วค่ะ…
…จะนำไปปรับใช้ก็คือ เริ่มจากในชั้นเรียนของตัวเองก่อนนะคะ แล้วก็เผยแพร่นำข้อมูลสู่เพื่อนครู โดยอาจจะผลักดันไปจนถึงผู้บริหาร ขอบคุณมากนะคะสำหรับในโครงการนี้ที่ได้ร่วมในครั้งนี้ รู้สึกดีใจมากค่ะ แล้วก็เห็นถึงสิ่งที่จะนำไปปรับใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่นักเรียนค่ะ
ในฐานะที่เราเป็นครู และหลายคนเคยตั้งคำถามครับว่า ในยุคที่ความรู้ข้อมูลอยู่ในทั่วไป นักเรียนค้นหาได้ด้วยตัวเอง เราจะออกแบบการจัดการเรียนการสอนยังไง หลังจากที่เราได้มาอยู่ที่โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นระยะเวลา 14 วัน ผมคิดว่าผมได้ค้นหาคำตอบนั้นเจอแล้ว ว่าเราจะออกแบบการเรียนรู้ยังไง โดยที่เราจะเริ่มไปปรับใช้ด้วยการออกแบบชั้นเรียนของเรา ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติก่อน แล้วเริ่มสอนแบบ synchronous และ asynchronous ค่อย ๆ ปรับกันไปเรื่อย ๆ และนำข้อมูลเล่าต่อให้เพื่อนครูฟังครับ ตลอดจนขับเคลื่อนไปอย่างผู้บริหาร แล้วก็ขับเคลื่อนไปทางโรงเรียนโดยพร้อมเพรียงกัน
…เกิดความประทับใจนะครับในหลาย ๆ เรื่องเลยครับ แต่ว่าขอยกมาเป็นบางเรื่อง เช่น
1. คณะครูทางโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์มีความเชี่ยวชาญ มีความเป็นกันเอง แล้วก็พร้อมถ่ายทอดความรู้ให้กับคณะครูที่มาสังเกตการสอน ได้ให้แนวคิด ได้ให้วิธีการ ให้คำแนะนำ ในการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งในรายวิชาชีววิทยา โครงงาน สัมมนาครับ2. การจัดการชั้นเรียน ซึ่งการจัดการชั้นเรียนในโรงเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จัดการเรียนรู้เป็นแบบ synchronous และ asynchronous ซึ่งผมสนใจมาก และคิดว่าจะนำการจัดการเรียนการสอนแบบนี้ไปใช้ภายในโรงเรียน
3. การบริหาร มีการจัดตารางสอนเป็นตาราง A ตาราง B ซึ่งการจัดแบบนี้ จะทำให้เด็กได้ความรู้เต็ม เต็มชั่วโมงเรียน ซึ่งนำความรู้ตรงนี้ไปใช้ในวิชาต่าง ๆ ได้
4. การดูแลนักเรียน ซึ่งทางโรงเรียนมีการอำนวยความสะดวกให้กับเด็กนักเรียน โดยการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปให้นักเรียนได้ใช้ครับ
ซึ่งการนำไปปรับใช้ อย่างแรกที่ผมจะนำไปปรับใช้ ก็จะเป็นเรื่องของการนำการจัดการเรียนรู้แบบการจัดการเรียนรู้แบบ synchronous และ asynchronous ไปใช้ในชั้นเรียนครับ และถ้ามีโอกาสเป็นไปได้ก็จะนำเสนอที่ประชุม ซึ่งอาจจะไม่สามารถเกิดได้ทันทีครับ แต่เมื่อเราได้ลองทำไปแล้ว อย่างน้อยมันก็เป็นก้าวนึงที่จะได้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงภายในโรงเรียนครับ ซึ่งก้าวแรกมันจะยากลำบากเสมอ แต่ว่าเมื่อเราได้ลองก้าวแล้วอย่างน้อยได้ลองทำได้รู้ว่าสิ่งไหนดี สิ่งไหนไม่ดี ก็จะสามารถนำมาปรับใช้ได้…