โครงงานนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์คว้ารางวัลถึง 27 โครงงาน จากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 26 (YSC 2024) รอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค ภาคตะวันตก ซึ่งจัดการแข่งขันไปเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2567 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ พร้อมได้ไปต่อในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับประเทศ ถึง 5 โครงงาน
การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศในระดับภูมิภาค ของภาคตะวันตก มีโครงงานวิทยาศาสตร์ผ่านเข้ารอบจากข้อเสนอโครงการเข้าร่วมทั้งสิ้น 41 โครงงาน โดยเจ้าของผลงานทั้งหมดได้มาร่วมนำเสนอโครงงาน เพื่อเป็นผู้แทนเข้าแข่งขันในระดับชาติต่อไป ซึ่งการแข่งขันนี้มีการแบ่งออกประเภทออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มที่ 1 โครงงานชีววิทยา
- กลุ่มที่ 2 โครงงานเคมี
- กลุ่มที่ 3 โครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์
- กลุ่มที่ 4 โครงงานวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมการแพทย์
- กลุ่มที่ 5 โครงงานวิศวกรรมศาสตร์
- กลุ่มที่ 6 โครงงานคณิตศาสตร์และสถิติ
- กลุ่มที่ 7 โครงงานวิทยาศาสตร์โลกและสิ่งแวดล้อม
- กลุ่มที่ 8 โครงงานวัสดุศาสตร์และวิศวกรรมวัสดุ
- กลุ่มที่ 9 โครงงานฟิสิกส์ พลังงาน และดาราศาสตร์
หลังจากการแข่งขันเสร็จสิ้น ผลการประกวดโครงงานมีดังนี้
- โครงงานเรื่อง “การพัฒนาเครื่องมือตรวจวัดปริมาณตะกั่วในน้ำด้วยหลักการเชิงสี” ผลงานของ นายธราดล จิตซื่อ และ นายชญนัทธ เทียมเมือง โดยมี อาจารย์วัลลภ คงนะ ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.สมพร บัวประทุม ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การทำน้ำจืดจากน้ำทะเลด้วยการใช้ความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์และการซึมผ่านซิลิกาแอโรเจล” ผลงานของ นางสาวพีรยา แซ่เจีย นางสาวคัณธรัตน์ พินพิสิทธิ์ และ นายศุภกร วงษ์กุหลาบ โดยมี ดร.อุษา จีนเจนกิจ ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.สุพรรณ ยอดยิ่งยง จาก สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “แนวคิดใหม่ในการออกแบบยาเปบไทด์สำหรับรักษามะเร็งแบบมุ่งเป้าจากลำดับกรดอะมิโนที่กำหนดความจำเพาะของแอนติบอดี้ต่อแอนติเจน” ผลงานของ นายพีรดนย์ แซ่จึง นางสาววาราดา จงจิระวงศา และ นายชัยดิฐ ลิ่มกาญจนโชติ โดยมี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ หัวหน้าสาขาวิชาเคมี และ รศ. ดร. นพ.ปีติ ธุวจิตต์ จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “ต้นแบบนวัตกรรมเครื่องตรวจวัดปริมาณสารอัตโนมัติแบบ 2 in 1 เพื่อประยุกต์ใช้ในเชิงเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อม” ผลงานของ นางสาวชัญญา จิรภาวสุทธิ์ นายชนกนนท์ กองกันทะ และ นายมัทธิว เหมะ โดยมี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ หัวหน้าสาขาวิชาเคมี และ อาจารย์ชาคริต สมานรักษ์ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดสารก่อภูมิแพ้เคซีนและไกลอะดีนในอาหารแบบพร้อมกันโดยใช้เทคนิคอิมมูโนโครมาโทกราฟีชนิดไหลในแนวราบ” ผลงานของ นางสาวศุภาวีร์ บรรเทิง นางสาวกชพรรณ สิงห์โห และ นางสาวอายะ พ่วงทรัพย์ โดยมี ดร.ณุจุฑา ธรรมสุเมธ ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.สุดเขต ไชโย จาก สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การจำลองระบบการจัดการสัญญาณไฟจราจรอัตโนมัติที่สอดคล้องกับความหนาแน่นของรถ” ผลงานของนายบุริศร์ วังอนานนท์ นายจิรายุ บุญเรือง และ นายภวัต ลิลาพันธิสิทธิ โดยมี ดร.ปราณี ดิษรัฐกิจ และ ดร.กมลพร แห้วสันตติ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “ชุดอุปกรณ์ตรวจสอบไมโครพลาสติกในน้ำแบบพกพา โดยอาศัยการย้อมสีแบบฟลูออเรสเซนต์ การประมวลผลภาพอัตโนมัติ ในต้นทุนที่ไม่สูง” ผลงานของ นายณฐกฤษณ์ มหาวินิจฉัยมนตรี และ นายพุฒิสรรค์ คุโรปกรณ์พงษ์ โดยมี ดร.สมพร บัวประทุม ครูสาขาวิชาฟิสิกส์และหัวหน้าฝ่ายบริหารทรัพยากรและความปลอดภัย และ อาจารย์จีรวรรณ บัวประทุม ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การสังเคราะห์ตัวเร่งปฏิกิริยา Dehydrogenation จาก Ni-Cu ซึ่งถูกยึดบน N-doped Activated Carbon support เพื่อสร้างแก๊สไฮโดรเจนจากสารอินทรีย์โมเลกุลเล็ก” ผลงานของ นางสาวสิดารัศมิ์ สุบงกช นายวรัท โสพัศสถิต และ นายณัฐเศรษฐ ทวีรัตนพาณิชย์ โดยมี ดร.สาโรจน์ บุญเส็ง ครูสาขาวิชาเคมีและหัวหน้าฝ่ายบริหารการเรียนรู้และระบบโรงเรียนประจำ และ รองศาสตราจารย์ ดร.อนุสรณ์ สืบสาย จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “ฟิล์มเจลาตินผสมลิกนินเพื่อป้องกันการสลายตัวของวิตามินซีในผลิตภัณฑ์กัมมี่” ผลงานของ นางสาวพลอยชมพู พรรณราย และ นางสาวปารีณา สถิตธรรมนิตย์ โดยมี ดร.ดวงแข ศรีคุณ และ อาจารย์วีรวุฒิ เทียนขาว ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “วัสดุชีวภาพเชิงประกอบจาก Chitosan Alginate Hydroxyapatite และ K-carrageenan สำหรับเป็นโครงเลี้ยงเซลล์กระดูก” ผลงานของ นายสุวภัทร สำรวจเบญจกุล นายปัณณพงศ์ กีรติอนันต์พร และ นางสาวณัฐวรา แย้มประเสริฐ โดยมี ดร.ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา ครูสาขาวิชาเคมี และ ผศ.ดร. ณัฐวุฒิ ชัยยุตต์ จาก คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “ชุดตรวจหาสารออกซีเบนโซนในครีมกันแดด” ผลงานของ นายพีรวัส จำจด นางสาวพีรชญา ลิ้มมหาคุณ และ นางสาวณัฏฐณิชา เลิศศรีสกุลรัตน์ โดยมี ดร.ดวงแข ศรีคุณ และ อาจารย์วัลลภ คงนะ ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การศึกษาเพื่อค้นหาสารที่มีฤทธิ์ป้องกันความดันเลือดสูงจากภาวะพิษแห่งครรภ์ โดยพัฒนาหลอดเลือดดำสายสะดือมนุษย์เป็นแบบจำลอง” ผลงานของ นายณัชพล พานิช นายรติ มหามงคล และ นางสาววชิรญา ยงกุลวณิช โดยมี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ หัวหน้าสาขาวิชาเคมี และ รศ.ดร.พญ. วัฒนา วัฒนาภา จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การพัฒนาแบบจำลองปัญญาประดิษฐ์แบบ 4 in 1 เพื่อทำนายและจำแนกค่าความเป็นพิษหลักของยาที่มีผลต่อร่างกายมนุษย์โดยอาศัยข้อมูลโครงสร้างโมเลกุลยาและ Stacking Ensemble Learning” ผลงานของ นายสุรพงษ์ บุญสม นายชยพล แก้วชัยเจริญกิจ และ นางสาวปาณิศรา ชำนาญศิลป์ โดยมี ดร.สาโรจน์ บุญเส็ง ครูสาขาวิชาเคมีและหัวหน้าฝ่ายบริหารการเรียนรู้และระบบโรงเรียนประจำ และ ดร.ธราพงษ์ ศรีสงคราม จาก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “แบบจำลองการเรียนรู้เชิงลึกในการทำนายฤทธิ์ทางชีวภาพของยาต่อโปรตีนเป้าหมาย PCSK9 โดยใช้กลศาสตร์ควอนตัมควบคู่กับโครงสร้างโมเลกุลยา เพื่อใช้ในการการออกแบบยารักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบในอนาคต” ผลงานของ นางสาวนิตา จงไกรจักร นายชนทิวา ชนม์ชนกบุญ และ นายกิตติภพ เขียนสา โดยมี ดร.สาโรจน์ บุญเส็ง ครูสาขาวิชาเคมีและหัวหน้าฝ่ายบริหารการเรียนรู้และระบบโรงเรียนประจำ และ ดร.ธนัชกฤศ แก้วเต็ม ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การพัฒนาอุปกรณ์ตรวจวัดบนกระดาษสำหรับการวัดประมาณไตรกลีเซอไรด์และกลูโคสพร้อมกัน” ผลงานของ นางสาวเจนิสา โล นายล้ำตะวัน พยัพตรี และ นางสาวพิชญ์ณิยา สิทธิฤทธิ์กวินโดยมี ดร.ณุจุฑา ธรรมสุเมธ ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.สุดเขต ไชโย จาก สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การศึกษาชนิดของข้าวที่มีผลต่อการสร้างสารสีจากเชื้อรา Monascus” ผลงานของนางสาวภูมิใจ เรืองสินทรัพย์ และ นางสาวธัญญารัตน์ อรุโณศรีสกุล โดยมี อาจารย์อารีย์ สักยิ้ม ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “ทางเลือกใหม่ของการเพาะเลี้ยงเซลล์ประสาทในงานวิศวกรรมเนื้อเยื่อโดยไฮโดรเจลที่ปราศจากโปรตีนสัตว์โดยใช้ไคโตซาน คาราจีแนน และโพลีไวนิลแอลกอฮอล์” ผลงานของ นายณฐกร สวัสดิ์นพรัตน์ นายภัทรพล เจริญสุขโสภณ และ นายศิวกร ต๊ะกำเนิด โดยมี ดร.โอภาส พระเทพ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ ดร.ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การพัฒนาสารเคลือบหลุมร่องฟันที่มีองค์ประกอบของฟิลเลอร์ที่ปลดปล่อยไอออนและสารพอลิไลซีนเพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการซ่อมแซมเนื้อฟันและลดโอกาสการผุซ้ำ” ผลงานของ นางสาวพัชร์พิชา เลิศวิสิฐพล นางสาวนิชาภา จัมปากะนันท์ และ นายยศวีร์ วรภาสไพบูลย์ โดยมี ดร.สุภานันท์ สุจริต หัวหน้าสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ รศ.ดร.ทพ.ปิยะพงษ์ พรรณพิสุทธิ์ จาก คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “เครื่องดักจับฝุ่น PM 2.5 ไร้ไส้กรองด้วยหลักการทางไฟฟ้าและแม่เหล็ก” ผลงานของ นายสิทธา ศรีรัตนพงษ์ นายก่ออิชย์กรณ์ จันทร์ฉาย และ นายสิรวิชญ์ อัศวพงษ์เกษม โดยมี ดร.ธวัชชัย สุดใจ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “แอพการเกษตรส่งเสริมเกษตรกรในการปลูกข้าวและทำนายผล” ผลงานของ นายศิรสิทธิ์ หวังผล นายสุทธิทัต สานสุวรรณ และ นายชฎิลธร ลาภทรงสุข โดยมี ดร.นิทัศน์ ศรีพงษ์พันธ์ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ และ ดร.สิทธิโชค โสมอ่ำ ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การประยุกต์ใช้แอโรเจลในตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของวัสดุเปลี่ยนเฟส” ผลงานของ นางสาวพนัชกร ผิวทองงาม นางสาวกชกร จิตรานุรักษ์เจริญ และ นางสาวณัฐภัค ทองแท้ โดยมี ดร.อุษา จีนเจนกิจ ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.สุพรรณ ยอดยิ่งยง จาก สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การพัฒนาแผ่นแปะไฮโดรเจลจาก k-carrageenan สำหรับการนำส่งยาโรคเบาหวาน โดยวิธีควบคุมด้วยไฟฟ้า” ผลงานของ นายสิทธิภาคย์ อัศวสถาพรผล นายภาสกร วราจิตติชัย และ นายวีรชน ใหม่นาเพียง โดยมี ดร.อุษา จีนเจนกิจ ครูสาขาวิชาเคมี และ ผศ.ดร.นพวรรณ ปาระดี จาก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การพัฒนาเข็มระดับไมโครเพื่อการนำส่งสารสกัด Ellagic acid จากเปลือกทับทิมในรูปแบบแผ่นแปะฆ่าเชื้อแบคทีเรีย” ผลงานของ นางสาวทอแสง แสงอรุณ และ นางสาวทอฝัน เลิศวรรณวิทย์ โดยมี ดร.ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.อรวรรณ ปิยะบุญ ครูสาขาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การสร้างแผ่นฟิล์มพอลิเมอร์ที่มีรอยพิมพ์ประทับโมเลกุลของ กรด N-แอซีติลนิวรามินิก ใช้ร่วมกับเซนเซอร์เชิงไฟฟ้าเคมีประเภทกระดาษ เพื่อประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคปอดนิวโมโคนิโอสิส” ผลงานของ นางสาวพัชรชา อากาศวิภาต นางสาวปุญยวีร์ พิทยาวงศ์อานนท์ และ นางสาวชนกนันท์ ภูกาบิน โดยมี ดร.สุภานันท์ สุจริต หัวหน้าสาขาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ รศ. ดร. ธีรพล เปียฉ่ำ จาก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การพัฒนาฟิล์มเคลือบผิวมะม่วงน้ำดอกไม้ด้วย CMC ให้มีคุณสมบัติป้องกัน โรคแอนแทรกโนส จากเชื้อรา Colletotrichum spp. ด้วยสารสกัดหยาบจากสาหร่ายทุ่น (Sargassum polycystum) เพื่อยืดอายุการจัดเก็บมะม่วงน้ำดอกไม้หลังการเก็บเกี่ยว” ผลงานของ นางสาวภิญญาพัชญ์ ไพบูลย์ นายชาตโยดม อู่วุฒิพงษ์ และ นายจิรกร นวลศิริ โดยมี อาจารย์ธัญญรัตน์ ดำเกาะ ครูสาขาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
- โครงงานเรื่อง “การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อการจัดแผนการท่องเที่ยวโดยใช้หลักโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในพื้นที่บริการของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน” ผลงานของ นายกิตติธัช เทียนโพธิวัฒน์ นายกษิดิ์พิชญ์ วิภาตะรักษ์ และ นายปรัชญ์วิรุฬ เพทัย โดยมี ดร.สิริรัตน์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ครูศิลปศาสตร์
- โครงงานเรื่อง “การพัฒนาชุดทดสอบ Phosphoethanolamine เพื่อบ่งชี้การเป็นโรคซึมเศร้า” ผลงานของ นายศิริอานันท์ บุญประสิทธิพันธ์ นางสาวภวิภา อ่องพัฒนกุล และ นายวชิรวิทย์ ทองย้อย โดยมี ดร.ศุภกร ตันติศรียานุรักษ์ ครูสาขาวิชาเคมี ฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
ทั้งนี้ ทุกโครงงานที่ผ่านเข้ารอบข้อเสนอโครงการ ทั้งหมดได้รับทุนสนับสนุนพัฒนาผลงาน 3,000 บาท ก่อนเข้าแข่งขันรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค
https://www.facebook.com/ScienceSilpakornUniversity (ภาพ)
ณุจุฑา ธรรมสุเมธ (ข้อมูล/ภาพ)
ศูนย์พัฒนาสื่อดิจิทัล (เรียบเรียง)