ครูและนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ร่วมแลกประสบการณ์ทางวิชาการและวัฒนธรรมผ่านโครงการแลกเปลี่ยน ณ โรงเรียน Seoul Science High School สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 18-25 สิงหาคม พ.ศ. 2566
ช่วงปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ที่ผ่านมา ดร.ปราณี ดิษรัฐกิจ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ และ อาจารย์รัตนา สุขสำราญ หัวหน้างานกิจการนักเรียน ได้นำนักเรียนจำนวน 10 คน เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านวิชาการ การวิจัย การทำโครงงาน ความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านภาษาและศิลปวัฒนธรรม กับคณะครูและนักเรียน Seoul Science High School ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนการสอนและพัฒนานักเรียนที่มีศักยภาพสูงด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มีหลักสูตรเน้นส่งเสริมทักษะด้านการวิจัย ความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานร่วมกันของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรม Research and Education (R&E) ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ศึกษาเรียนรู้และทำวิจัยภายใต้คำแนะนำของคณาจารย์และนักวิจัยจากสถาบันและมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของประเทศ โดยประสบการณ์การดำเนินงานเหล่านี้ จะเป็นแนวทางในการนำมาปรับใช้ในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
- การเข้าเรียนในห้องเรียน (Classroom Observation) ห้องปฏิบัติการ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (Co-Curricular Activities) และกิจกรรมดูดาว ร่วมกับครูและนักเรียนเกาหลี
- การร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำโครงงานของนักเรียน MWIT ที่มีถึง 5 โครงงาน ได้แก่
1) โครงงานสาขาวิชาเคมีเรื่อง “Durian peel-based magnetic activated carbon for copper (II) removal in Wastewater” โดย นายทยากร ตั้งศรีวงศ์
2) โครงงานสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพเรื่อง “Lichen diversity in Mahidol Wittayanusorn School” โดย นางสาวอริสรา รุ่งเรือง
3) โครงงานสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ เรื่อง “A Study and Development of Fall Detection System using Body Force Estimation and Machines Learning” โดย นายอิทธิกร หลีกภัย
4) โครงงานสาขาวิชาเคมีเรื่อง “In Vitro and In Silico Study of the Anti-Oxidation Properties, α-Glucosidase Inhibitory, and Anti-Breast MCF-7 Cancer Cells Activities of Gallic Acid and Synthetic Derivatives” โดย นายปัณณวิชญ์ วรภาสไพบูลย์
5) โครงงานสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพเรื่อง “Application of image processing for Euglenoid identification and assessment of water quality in standing water” โดย นายจิรวัฒน์ อมรโอภาสเสถียร - กิจกรรม Sharing Session ในรูปแบบ TED Talk กับหัวข้อ “What I’ve Learned from Traveling: Taking Risks and Learning from Experiences” โดย นางสาววรวลัญช์ กิตติศิริประพันธ์ และนายจิรวัฒน์ อมรโอภาสเสถียร
- การนำเสนอวัฒนธรรมไทย ซึ่งนักเรียนได้นำเสนอการละเล่นไทย และหลักภาษาไทยเบื้องต้น
- การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย อย่างรำไทย ร้องเพลงไทย และเต้นเพลงไทยป็อป (T-pop)
- พิพิธภัณฑ์ฮันกึลแห่งชาติ (National Hangeul Museum) ที่มีจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับระบบการเขียนตัวอักษรเกาหลี ซึ่งได้รับการยอมรับให้เป็นมรดกโลก
- มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University: SNU) มหาวิทยาลัยแห่งชาติและเป็นมหาวิทยาลัยแรกของเกาหลีใต้
- เรียนรู้วิธีการทำกิมจิและสวมชุดฮันบก (ชุดประจำชาติเกาหลี)
- เยี่ยมชม Hyundai Motorstudio ศูนย์แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับโลกยานยนต์ของบริษัทฮุนได
- นั่งเรือชมทิวทัศน์แม่น้ำฮัน แม่น้ำที่เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของกรุงโซล
- เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมเกาหลีร่วมกับครูและนักเรียนบัดดี้