งาน International Science Project Olympiad (INSPO) จัดขึ้นในปี 2007 เป็นครั้งแรก โดยครั้งนั้นเป็นการแข่งขันในระดับประเทศ ก่อนที่จะขยายขอบเขตการแข่งขันไปสู่ระดับนานาชาติในปี 2014 เพื่อเป็นเวทีให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งในประเทศและต่างประเทศได้แสดงผลงานวิจัยและโครงงานวิทยาศาสตร์ รวมทั้งแลกเปลี่ยนแนวคิดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างโลกและอนาคตที่ดียิ่งขึ้น
งาน INSPO 2023 จัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 9-10 มิถุนายน พ.ศ. 2566 โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงของสาธารณรัฐทูร์เคียทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการตัดสิน นักเรียนที่ชนะการแข่งขันจะได้รับรางวัลและประกาศนียบัตรจากผู้จัดงาน ซึ่งงานนี้มีโครงงานที่ร่วมนำเสนอทั้งหมด 65 โครงงาน จาก 11 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐทูร์เคีย สาธารณรัฐเบลารุส สาธารณรัฐมาซิโดเนียเหนือ ประเทศโรมาเนีย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศไทย โดยการแข่งขันเป็นการนำเสนอโครงงานในรูปแบบ Parallel Sessions พร้อมกันใน 4 สาขา ได้แก่ วิศวกรรม (Engineering) พลังงาน (Energy) สิ่งแวดล้อม (Environment) และสุขภาพ (Health) ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องนำเสนอออนไลน์ (live presentation) 8 นาที และตอบข้อซักถามจากกรรมการในช่วง Q&A อีก 7 นาที
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ได้คัดเลือกนักเรียน จำนวน 12 คน จาก 5 โครงงาน เข้าร่วมแข่งขัน และทุกทีมได้รับรางวัลดังนี้
รางวัลเหรียญทอง สาขาสุขภาพ และรางวัล INSPO Special Awards: I2ASPO (IYSA) พร้อมได้รับเชิญให้เข้าร่วมงาน Indonesia International Applied Science Project Olympiad (I2ASPO) จัดโดย Indonesian Young Scientist Association (IYSA) ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
โครงงานสาขาวิชาเคมีเรื่อง “In vitro and in silico study of the antioxidation properties, α-glucosidase inhibitory, and anti-breast MCF-7 cancer cells activities of gallic acid and synthetic derivatives” นำเสนอโดย นายปัณณวิชญ์ วรภาสไพบูลย์ นักเรียนชั้น ม.6/9 นายอิทธิพัทธ์ เณรบำรุง นักเรียนชั้น ม.6/3 และ นายพัฐนนท์ เอี่ยมพงษ์ไพฑูรย์ นักเรียนชั้น ม.6/3 โดยมี อาจารย์สรชัย แซ่ลิ่ม ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.มูฮำหมัด นิยมเดชา จาก ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
รางวัลเหรียญทอง สาขาวิศวกรรม
โครงงานสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณเรื่อง “Diagnosis application for Parkinson’sdisease by hand tremor analysis” นำเสนอโดย นางสาวบุณยวีร์ วิริยวงวานศ์ นักเรียนชั้น ม.6/4 และ นางสาวนัสวรรณ รุ่งฤทธิเดช นักเรียนชั้น ม.6/5 โดยมี ดร.มนสิการ จันทร์สร้าง ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
รางวัลเหรียญทองแดง สาขาสุขภาพ
โครงงานสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณเรื่อง “Identification of repurposable drugs for colorectal cancer using drug-networkbased classification models” นำเสนอโดย นางสาวกีรติกา ทองชัยประสิทธิ์ นักเรียนชั้น ม.6/10 นางสาวณิชาภา ฉัตรจินดารัตน์ นักเรียนชั้น ม.6/6 และ นางสาวณัฐกานต์ อริยสัจจากร นักเรียนชั้น ม.6/10 โดยมี ดร.สิทธิโชค โสมอ่ำ ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ และ ดร.ฐิติพงษ์ กาวิชัย กองวิชาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
รางวัลชมเชย สาขาวิศวกรรม
โครงงานสาขาวิชาเคมีเรื่อง “Development of hydrogel microneedles for detecting electrolytes in interstitial fluid” นำเสนอโดย นางสาวจินตนันท์ โตทับเที่ยง นักเรียนชั้น ม.6/6 นางสาวคณัสนันท์ อัครภาณิชย์กร นักเรียนชั้น ม.6/5 และ นางสาวธฤตวรรณ ชูแก้ว นักเรียนชั้น ม.6/10 โดยมี ดร.ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
รางวัลชมเชย สาขาวิศวกรรม
โครงงานสาขาวิชาเคมีเรื่อง “Innovation of apparatus for quantitative detection of calcium from free edge of nails by colorimetric method and light absorption for assessment of calcium balance and bone disease risk” นำเสนอโดย นายธีรัตม์ สันติลินนท์ นักเรียนชั้น ม.6/9 โดยมี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ ครูสาขาวิชาเคมี และ อาจารย์วีรวุฒิ เทียนขาว ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน