โครงงานนักเรียน MWIT กวาดโควตาตัวแทนภูมิภาคตะวันตก ร่วมแข่งขันโครงงานเวทีนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 25 (YSC 2023) ระดับประเทศ

นักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จำนวนหนึ่ง ได้ส่งผลงานวิจัยของตนเองจากรายวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิชาเรียนตามหลักสูตรของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เข้าร่วมการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 25 (YSC 2023) โดยเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา ได้มีการนำเสนอในรอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค ศูนย์ประสานงานภาคตะวันตก มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งผลรางวัลมีดังนี้

รางวัลชนะเลิศระดับภูมิภาคและทุนพัฒนาผลงาน 9,000 บาท พร้อมทั้งเป็นตัวแทนไปประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 25 (YSC 2023) ระดับประเทศ จำนวน 9 โครงงาน ได้แก่

  • โครงงานสาขาชีววิทยา เรื่อง “การพัฒนาบรรจุภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพที่มีสารสกัดหยาบจากแก่นฝางเสนในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli ซึ่งเป็นสาเหตุการเน่าเสียของหมูแท่งนิ่ม” ผลงานของ นายสิริดนย์ รังสีหิรัญรัตน์ นักเรียนชั้น ม.5/4 และ นายนันทพัทธ์ พิทยาวงศ์อานนท์ นักเรียนชั้น ม.5/4  โดยมี ดร.อรวรรณ ปิยะบุญ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาเคมี เรื่อง “การพัฒนาเซนเซอร์ชนิดการไหลในแนวระนาบสำหรับการตรวจโรคไวรัสตับอักเสบบีจากน้ำลาย” ผลงานของ นายณัฐชานนท์ รองเดช นักเรียนชั้น ม.5/2 และ นายกริชเพชร โคตรหลักคำ นักเรียนชั้น ม.5/8  โดยมี ดร.อุษา จีนเจนกิจ ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.สุดเขต ไชโย จาก สถาบันวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพและวิศวกรรมพันธุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาเคมี เรื่อง “แนวคิดใหม่แห่งวงการชีวเคมีทางการแพทย์: การตรวจสอบ DNA ของมะเร็งบนผิวเม็ดเลือดแดงโดยใช้เลือดไก่เป็นแบบในการศึกษาเพื่อพัฒนาสู่นวัตกรรมใหม่ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งที่รวดเร็ว” ผลงานของ นายวงศกร มาลาลักษมี นักเรียนชั้น ม.5/5  นางสาวชุตินันต์ สุขพงศ์จิรากุล นักเรียนชั้น ม.5/5 และ นางสาวมทินา บุญเต็ม นักเรียนชั้น ม.5/5  โดยมี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ปีติ ธุวจิตต์ จาก ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน  
  • โครงงานสาขาคอมพิวเตอร์ เรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพของโมเดล transformer ในการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านม” ผลงานของ นายกิตติชนม์ ชาวนาวิก นักเรียนชั้น ม.5/7  นายธีร์ ครุพงศ์ นักเรียนชั้น ม.5/5  และ นายภวิศ จตุวีรวงศ์ นักเรียนชั้น ม.5/5  โดยมี ดร.ธนัชกฤศ แก้วเต็ม และ อาจารย์ทศพร แสงจ้า ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานวิศวกรรมศาสตร์ เรื่อง “นวัตกรรมอุปกรณ์การตรวจปริมาณแคลเซียมจากเศษเล็บโดยใช้หลักการวิเคราะห์เชิงสีและการดูดกลืนเชิงแสงเพื่อการประเมินภาวะสมดุลแคลเซียมและความเสี่ยงโรคกระดูก” ผลงานของ นายณภัทร ด่านชนะ นักเรียนชั้น ม.5/9 นายภัทรพล ใจเย็น นักเรียนชั้น ม.5/4 และ นายธีรัตม์ สันติลินนท์ นักเรียนชั้น ม.5/9  โดยมี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ และ อาจารย์วีรวุฒิ เทียนขาว ครูสาขาวิชาเคมี เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เรื่อง “วัสดุดูดซับน้ำมันและสารอินทรีย์จากยางพาราผสมเซลลูโลสและซิลิกา” ผลงานของ นางสาวณัฐณิชาช์ วาสุเทพรักษ์ นักเรียนชั้น ม.5/8  นายจิรัฏฐ์ ฉัตรศรีนพคุณ นักเรียนชั้น ม.5/8  และ นายภูมิพิรัชย พันพินิจ นักเรียนชั้น ม.5/8  โดยมี ดร.อุษา จีนเจนกิจ ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.สุพรรณ ยอดยิ่งยง จาก สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาสหสาขา เรื่อง “การสังเคราะห์อนุพันธ์กรดแกลลิกและกลไกการเกิดปฏิกิริยาที่มีผลต่อสมบัติต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน สมบัติการยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดสและสมบัติต้านเซลล์มะเร็งเต้านม” ผลงานของ นายปัณณวิชญ์ วรภาสไพบูลย์ นักเรียนชั้น ม.5/9  นายอิทธิพัทธ์ เณรบำรุง นักเรียนชั้น ม.5/3 และ นายพัฐนนท์ เอี่ยมพงษ์ไพฑูรย์   นักเรียนชั้น ม.5/3  โดยมี อาจารย์สรชัย แซ่ลิ่ม ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.มูฮัมหมัด นิยมเดชา จาก ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน  
  • โครงงานสาขาวิชาฟิสิกส์ พลังงาน และดาราศาสตร์ เรื่อง “ระบบตรวจวัดสารประกอบโพลาร์รวมในน้ำมันทอดซ้ำโดยการวัดความจุไฟฟ้า” ผลงานของ นายกุณฑี สมบูรณ์วิวัฒน์ นักเรียนชั้น ม.5/5  นายปริชญ์ เลิศยิ่งยศ นักเรียนชั้น ม.5/8  และ นายกิตติโชติ อวยพรชัยกุล นักเรียนชั้น ม.5/5  โดยมี ดร.สมพร บัวประทุม และ ดร.ปราณี ดิษรัฐกิจ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์  เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาวัสดุศาสตร์ เรื่อง “ การประดิษฐ์แผ่นฝึกเย็บแผลจากยางพารา” ผลงานของ นางสาวนิชนิภา สาธิตธรรมพร นักเรียนชั้น ม.5/8  นางสาวกมลชนก บุญเลิศวรกุล นักเรียนชั้น ม.5/8 และ นางสาวธัญธิตา ปานเนาว์ นักเรียนชั้น ม.5/8  โดยมี อาจารย์อารีย์ สักยิ้ม ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน

รางวัลเกียรติบัตรเหรียญทอง ระดับภูมิภาค และได้รับทุนพัฒนาผลงาน 3,000 บาท

  • โครงงานสาขาสหสาขา เรื่อง “การทำนายประสิทธิภาพของยาต่อโปรตีนเป้าหมาย serotonin transporter (SERT), 5-HT1A และ 5-HT2A receptor ซึ่งส่งผลต่อโรคซึมเศร้าโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบยาในอนาคต” ผลงานของ นายนวพล ธรรมกฤษดา นักเรียนชั้น ม.5/8  นายปฤณ ภูวรกิจ นักเรียนชั้น ม.5/8 และ นายณฐศร ถิระพร นักเรียนชั้น ม.5/8  โดยมี ดร.สาโรจน์ บุญเส็ง ครูสาขาวิชาเคมี และ อาจารย์ทศพร แสงจ้า เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาวัสดุศาสตร์ เรื่อง “การทำแผ่นไม้และกาบหมากให้โปร่งใส เพื่อใช้แทนกระจกเซลล์สุริยะ” ผลงานของ นายติณณภัชน์ ศรีเพ็ง นักเรียนชั้น ม.5/5 นายกานต์ชนก วัชรินทร์กาญจน์ นักเรียนชั้น ม.5/5 และ นายรฐนนท์ มกรมณี นักเรียนชั้น ม.5/5  โดยมี  อาจารย์วีรวุฒิ เทียนขาว ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.กิติศักดิ์ บุญขำ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาวัสดุศาสตร์ เรื่อง “การพัฒนาเข็มระดับไมโครชนิดไฮโดรเจลสำหรับตรวจวัดสารอิเล็กโทรไลต์ในของเหลวระหว่างเซลล์” ผลงานของ นางสาวจินตนันท์ โตทับเที่ยง นักเรียนชั้น ม.5/6 นางสาวคณัสนันท์ อัครภาณิชย์กร นักเรียนชั้น ม.5/5 และ นางสาวธฤตวรรณ ชูแก้ว นักเรียนชั้น ม.5/10  โดยมี ดร.ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา ครูสาขาวิชาเคมี เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาฟิสิกส์ พลังงาน และดาราศาสตร์ เรื่อง “การนับอนุภาคในเครื่องตรวจจับอนุภาคแบบคลาวด์แชมเบอร์อย่างง่ายโดยประยุกต์ใช้เทคนิคการประมวลผลเชิงภาพด้วยคอมพิวเตอร์” ผลงานของ นายอนาวิล ศิลปะศาสตร์ นักเรียนชั้น ม.5/10 นายธนัสภพ หลิมจานนท์ นักเรียนชั้น ม.5/10 และ นายภาณุพัฒน์ ศรีสุขวสุ นักเรียนชั้น ม.5/1  โดยมี ดร.ธัญนันท์ สมนาม และ อาจารย์ชาคริต สมานรักษ์ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาชีววิทยา เรื่อง “ฤทธิ์ต้านเชื้อก่อสิว Staphylococcus aureus และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยแผ่นแปะสิวจากเปลือกทุเรียน” ผลงานของ นางสาวปราวีณา พรมสี่หน้า นักเรียนชั้น ม.5/6 นางสาวธนัชพร เชยบัวแก้ว นักเรียนชั้น ม.5/6 และ นางสาวอันนา แสงแก้ว นักเรียนชั้น ม.5/6  โดยมี ดร.อรวรรณ ปิยะบุญ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาชีววิทยา เรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพของเปปไทด์ที่ได้จากการลอกเลียนแบบโปรตีนในเมล็ดกัญชง (Cannabis sativa L.) ในการยับยั้งมะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมาและยับยั้งการสร้างเมลานิน” ผลงานของ นายอชิรวิศ มหิทธิกร นักเรียนชั้น ม.5/1  นางสาวสิราวรรณ พันธุ์อนุกูล นักเรียนชั้น ม.5/7 และ นางสาวรัชวลัญช์ อุณเวทย์วานิช นักเรียนชั้น ม.5/10  โดยมีอาจารย์ทิพนาถ น้อยแก้ว ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปราโมทย์ ชำนาญปืน จาก ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาเคมี เรื่อง “การพัฒนาแชมพูที่มีส่วนผสมของสารประกอบฟีนอลิกจากผลมะม่วงหิมพานต์เพื่อชะลอผมขาว” ผลงานของ นางสาวพาขวัญ บุญประกายแก้วนักเรียนชั้น ม.5/5  นางสาวปภาดา เจริญสิทธิ์ นักเรียนชั้น ม.5/5 และ นางสาวบัว จันทรังสิกุล นักเรียนชั้น ม.5/5  โดยมี ดร.ณุจุฑา ธรรมสุเมธ ครูสาขาวิชาเคมี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิงชิตชไม โอวาทฬารพร จาก ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาเคมี เรื่อง “ต้นแบบชุดทดสอบทางเคมีแบบ 3 in 1 สำหรับปัสสาวะ เหงื่อ และ น้ำลาย สู่การประเมินภาวะสุขภาพอย่างครบวงจรโดยใช้การทดสอบเชิงสีของแลคเตทเป็นโครงการนำร่อง” ผลงานของ นายคณิศร กิรติพงษ์วุฒิ นักเรียนชั้น ม.5/1  นายชนม์นิธิศ ชินาพิสุทธิ์ นักเรียนชั้น ม.5/1 และ นางสาวณรฎา จะชาลี นักเรียนชั้น ม.5/3  โดยมี ดร.เกียรติภูมิ รอดพันธ์ ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.นาฏนัดดา รอดทองคำ จาก สถาบันวิจัยโลหะและวัสดุ จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน

รางวัลเกียรติบัตรเหรียญเงินระดับภูมิภาคและได้รับทุนพัฒนาผลงาน 3,000 บาท

  • โครงงานสาขาสหสาขา เรื่อง “การศึกษาประสิทธิภาพสารสกัดราเอนโดไฟต์จากใบกระชายขาว เพื่อยับยั้งการเจริญของแบคทีเรีย Salmonella sp. และ Staphylococcus aureus” ผลงานของ นางสาวกัญญาภัค ร่วมรัตนตรัย นักเรียนชั้น นักเรียนชั้น ม.5/8  นางสาวกัญญาพัชร ร่วมรัตนตรัย นักเรียนชั้น ม.5/6 และ นางสาวไพลิน ตั้งสุนทรวิวัฒน์ นักเรียนชั้น ม.5/4  โดยมี อาจารย์เมษสุวัลย์ พงษ์ประมูล ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาวัสดุศาสตร์ เรื่อง “การผลิตเจลปรับอากาศโดยใช้วัตถุดิบจากเปลือกส้มโอ” ผลงานของ นายปกป้อง สท้านวงศ์ นักเรียนชั้น ม.5/2  นายปรเมศวร์ แสงแก้วสุข นักเรียนชั้น ม.5/4 และ นางสาวฐิมาภรณ์ ศิริรัตน์ นักเรียนชั้น ม.5/8  โดยมี ดร.ดวงแข ศรีคุณ ครูสาขาวิชาเคมี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.เภสัชกรหญิงปัทมพรรณ โลมะรัตน์ หัวหน้าภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาวัสดุศาสตร์ เรื่อง “ชุดตรวจฟอสเฟตจากน้ำลายด้วยขั้วไฟฟ้าพิมพ์สกรีนดัดแปรเพื่อคัดกรองความเสี่ยงโรคไตเรื้อรัง” ผลงานของ นางสาวหฤทัยชนก พงศ์ธนเกียรติ นักเรียนชั้น ม.5/1 นางสาวกัลยกร เฮงจิตตระกูล นักเรียนชั้น ม.5/1 และ นางสาวเบญจวรรณ พฤทธิพัฒนพงศ์   นักเรียนชั้น ม.5/1  โดยมี อาจารย์จตุภรณ์ สวัสดิ์รักษา ครูสาขาวิชาเคมี และ ดร.ภูมิเดช พู่ทองคำ จาก ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาชีววิทยา เรื่อง “ผลของความเข้มข้นและรูปแบบการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับการผลิตไข่น้ำ (Wolffia globosa (Roxb.) Hartog & Plas.) เพื่อเป็นระบบสนับสนุนชีวิตโดยการหมุนเวียนเชิงชีวภาพบนอวกาศ” ผลงานของ นายพีรวิชญ์ องค์น้ำทิพย์ นักเรียนชั้น ม.5/9  นายกวินภพ จันเจือ นักเรียนชั้น ม.5/9 และ นายอมรฤทธิ์ ศิริคำ นักเรียนชั้น ม.5/9  โดยมี ดร.โอภาส พระเทพ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ ดร.ทัฏพงศ์ ตุลยานนท์ จาก กลุ่มสาขาวิชาชีวนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพอัจฉริยะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาชีววิทยา เรื่อง “การใช้ไคโตซานเพิ่มการผลิตสาร Bacoside จากพรมมิในหลอดทดลอง” ผลงานของ นายภูเบศ แจ้งศรีเสริฐ นักเรียนชั้น ม.5/7 นายณชพล พลเยี่ยม นักเรียนชั้น ม.5/4 นายธีรทัต วีระเศรษฐ์ศิริ นักเรียนชั้น ม.5/7  โดยมี ดร.โอภาส พระเทพ ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ ดร.พณิช บุญสนองชีพ จาก สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาเคมี เรื่อง “การพัฒนายาแอสไพรินประเภทแผ่นแปะโดยใช้อนุภาคเงินนาโนเพื่อบอกปริมาณยา” ผลงานของ นายสรวิศ ก่อกิจกุศล นักเรียนชั้น ม.5/6  นายสิรภพ กำแหงคุมพล นักเรียนชั้น ม.5/6 และ นายธนภัทร จารุพันธุ์ นักเรียนชั้น ม.5/6  โดยมี ดร.ณรงค์ศักดิ์ ขุนรักษา ครูสาขาวิชาเคมี เป็นครูที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาเคมี เรื่อง “การผลิตกรดซักซินิกโดยปฏิกิริยาออกซิเดชันของเฟอร์ฟูรัลด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดคงที่บรรจุด้วยเรซินแลกเปลี่ยนไอออนบวก” ผลงานของ นายอภิวิชญ์ บุญคง นักเรียนชั้น ม.5/10  และ นางสาวอาริสา จันต๊ะหล้า นักเรียนชั้น ม.5/10  โดยมี ดร.ดวงแข ศรีคุณ ครูสาขาวิชาเคมี และ รองศาสตราจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ สมสุข จาก ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • โครงงานสาขาคอมพิวเตอร์ เรื่อง “การจัดการจุดพักขยะด้วย P-median model” ผลงานของ นายธิติพันธ์ เทพสุทิน นักเรียนชั้น ม.5/1 และ นายพีรพัฒน์ โตวัฒน์นิมิต นักเรียนชั้น ม.5/10  โดยมี ดร.สิริรัตน์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์ ครูสาขาวิชาศิลปศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เรื่อง “การศึกษาเฉดสีจากพืชท้องถิ่น” ผลงานของ นางสาวธนัชญา สรรเพชญ นักเรียนชั้น ม.5/4  นางสาวเกวลิน กลักวงศ์ นักเรียนชั้น ม.5/4  และ นางสาวอภิสรา กาวิกุล นักเรียนชั้น ม.5/4  โดยมี ดร.พัสวีพิชญ์ รุ่งโรจน์ตระกูล ครูสาขาวิชาชีววิทยาและวิทยาศาสตร์สุขภาพ และ ดร.สุพรรณี เชื้อนุ่น ครูสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน

ผ่านการพิจารณารอบข้อเสนอโครงงานและได้รับทุนพัฒนาผลงาน 3,000 บาท

  • โครงงานสาขา เรื่อง “การพัฒนาชุดตรวจวัดระดับความสุกของทุเรียนจากปริมาณน้ำตาลซูโครสในก้านทุเรียน” ผลงานของ นายชวิน คุณมงคลวุฒิ นักเรียนชั้น ม.5/2  นางสาวจิราภา เกียรติกูลขจร นักเรียนชั้น ม.5/2  โดยมี ดร.อุษา จีนเจนกิจ และ ดร.ณุจุฑา ธรรมสุเมธ ครูสาขาวิชาเคมี เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขา เรื่อง “ระบบแจ้งเตือนการใช้กล้ามเนื้อคอส่วน Upper Trapezius มากเกินไป เพื่อป้องกัน โรคกล้ามเนื้อคอหดเกร็งโดยใช้เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อที่พัฒนาขึ้นเอง” ผลงานของ นายฟ้าสรรค์ เชื้อผู้ดี นักเรียนชั้น ม.5/8 นายกัณฐกะ ณรงค์การดี นักเรียนชั้น ม.5/8 และ นายณัฐวัฒน์ ขาวสะอาด นักเรียนชั้น ม.5/4 โดยมี ดร.สมพร บัวประทุม และ ดร.พรมงคล จิ้มลิ้ม ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขา เรื่อง “ศึกษาผลของคลื่นความถี่สูงต่อสมบัติการระเหยของน้ำผสมน้ำตาลซูโครสและน้ำมันเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการรักษาความสดของผลไม้” ผลงานของ นางสาวเทียนกมล ทองคง นักเรียนชั้น ม.5/3 และ นางสาวไอริณรยา พิทักษ์วงษ์ นักเรียนชั้น ม.5/3 โดยมี ดร.ปราณี ดิษรัฐกิจ ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน
  • โครงงานสาขา เรื่อง “การประดิษฐ์เครื่องมือวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยคลื่นความเครียดเพื่อช่วยในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน” ผลงานของ นายภัทรชัย ศาสตรานุรักษ์ นักเรียนชั้น ม.5/7 นางสาวอู่อุขวัญ เจริญกุล  นักเรียนชั้น ม.5/7 และ นายธนวัตน์ ตันวัฒนะ นักเรียนชั้น ม.5/4  โดยมีอาจารย์จตุพร พันตรี และ ดร.มงคล สะพานแก้ว ครูสาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นที่ปรึกษาโครงงาน

ขอบคุณภาพจาก https://www.facebook.com/ScienceSilpakornUniversity

We uses cookies to improve the functionality, performance, and effectiveness of our communications, detailed in our Privacy Policy. By continuing to use this site, or by clicking "Agree," you consent to the use of cookies.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ Settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ - Session Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies are essential to provide You with services available through the Website and to enable You to use some of its features. They help to authenticate users and prevent fraudulent use of user accounts. Without these Cookies, the services that You have asked for cannot be provided, and We only use these Cookies to provide You with those services.

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytical Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ - Persistent Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies allow us to remember choices You make when You use the Website, such as remembering your login details or language preference. The purpose of these Cookies is to provide You with a more personal experience and to avoid You having to re-enter your preferences every time You use the Website.

Save