โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2565
วันที่ 5 – 7 พฤษภาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์
โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2565
ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์น (The European Organization for Nuclear Research: CERN) เกิดขึ้นด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดําริและทรงเล็งเห็นว่า หากนักวิทยาศาสตร์ไทยได้มีโอกาสทํางานวิจัยร่วมกับเซิร์น ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคพลังงานสูงชั้นนําระดับโลก ก็จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทยเป็นอันมาก ทำให้เกิดการประสานงานระหว่างผู้บริหารของเซิร์นและสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ถึงความเป็นไปได้ในการร่วมมือทางวิชาการในแขนงที่เกี่ยวข้อง ต่อมาในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนเซิร์น ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2552 ได้มีการลงนามในเอกสารแสดงเจตจำนงที่จะมีความร่วมมือกัน (Expression of Interest in The Participation of Physicists from Universities and Research Institutes from Thailand in the CMS Experiment at the CERN LHC Accelerator: EOI) ระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) และสถานีวิจัย CMS Experiment ของเซิร์น ภายหลังจากการลงนาม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์น และเพื่อให้การดำเนินงานภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นเกิดผลสัมฤทธิ์สูงสุด คณะอนุกรรมการ ฯ จึงได้ริเริ่มความร่วมมือทางวิชาการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน การบริการทางวิชาการ และการวิจัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ 4 โครงการหลัก ได้แก่
- โครงการคัดเลือกนักศึกษาและครูสอนฟิสิกส์ เพื่อเข้าร่วมโปรแกรมภาคฤดูร้อนเซิร์น
- โครงการ National e-Science Infrastructure Consortium
- โครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเซิร์น
- โครงการส่งเสริมนักศึกษาปริญญาโท-เอก นักวิจัยไปทำงานวิจัย ณ เซิร์น และพัฒนาให้เกิดการทำวิจัยร่วมกับเซิร์น
โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐานเป็นส่วนหนึ่งของโครงการส่งเสริมการจัดกิจกรรมวิชาการที่เกี่ยวข้องกับเซิร์น โดยมุ่งเน้นการให้การอบรมความรู้พื้นฐานและการประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์อนุภาคแก่นักเรียน นิสิต/นักศึกษา ครู และบุคคลทั่วไป โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมีโรงเรียน/มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เวียนกันเป็นเจ้าภาพในการดำเนินกิจกรรม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: โทรศัพท์ 0 20277850 ต่อ 202 | อีเมล
กำหนดการ โครงการอบรมฟิสิกส์อนุภาคพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2565
ระหว่างวันที่ 5 – 7 พฤษภาคม 2565 ในรูปแบบออนไลน์
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม
วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม 2565
เวลา | หัวข้อกิจกรรม | วิทยากร |
---|---|---|
09.00 – 09.30 น. | พิธีเปิด โดย ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ | |
09.30 – 10.30 น. | CERN, Current research activities | ผศ.ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
10.30 – 10.45 น. | Q & A session | |
10.45 – 11.00 น. | Break | |
11.00 – 12.00 น. | Introduction to Particle Physics | อ.คชานนท์ นิรันดร์พงศ์ สถาบันการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
12.00 – 12.15 น. | Q & A session | |
12.15 – 13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน | |
13.00 – 14.00 น. | Particle Accelerator & Detector Applications | ผศ.ดร.โยธิน รักวงษ์ไทย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
14.00 – 14.15 น. | Q & A session | |
14.15 – 14.30 น. | Break | |
14.30 – 15.30 น. | Introduction to Quantum Mechanics | อ.ดร.ธนภัทร์ ดีสุวรรณ ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี |
15.30 – 15.45 น. | Q & A session |
วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2565
เวลา | หัวข้อกิจกรรม | วิทยากร |
---|---|---|
09.00 – 10.00 น. | Introduction to Special Relativity | รศ.ดร.พิเชฐ วณิชชาพงศ์เจริญ วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร |
10.00 – 10.15 น. | Q & A session | |
10.15 – 10.30 น. | Break | |
10.30 – 11.30 น. | Introduction to Particle Accelerators | อ.จตุพร พันตรี สาขาวิชาฟิสิกส์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ |
11.30 – 11.45 น. | Q & A session | |
11.45 – 13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน | |
13.00 – 14.00 น. | Introduction to Particle Detectors | อ.ดร.ชญานิษฐ์ อัศวตั้งตระกูลดี ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
14.00 – 14.15 น. | Q & A session | |
14.15 – 14.30 น. | Break | |
14.30 – 16.30 น. | 🔴 LIVE — Forum I : CERN & Particle Physics – What do they do? | ผศ.ดร.นรพัทธ์ ศรีมโนภาษ ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.เชาวโรจน์ วโนทยาโรจน์ Electronic Systems for Experiments Group Backend Section, CERN นายสุรพัช เอกอินทร์ PhD Student, Le Laboratoire de Physique des Hautes Énergies (LPHE), École Polytechnique Fédérale de Lausanne (EPFL), LHCb Collaboration, CERN นายวิชญนันท์ วชิรภูษิตานันท์ นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม 2565
เวลา | หัวข้อกิจกรรม | วิทยากร |
---|---|---|
09.00 – 10.00 น. | Introduction to Physics Beyond Standard Model & New Physics | ผศ.ดร.ชาคริต พงษ์กิติวณิชกุล ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น |
10.00 – 10.15 น. | Q & A session | |
10.15 – 10.30 น. | Break | |
10.30 – 11.30 น. | Neutrinos, Dark matter and Dark energy | อ.ดร.เพชระ ภัทรกิจวานิช ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
11.30 – 11.45 น. | Q & A session | |
11.45 – 13.00 น. | รับประทานอาหารกลางวัน | |
13.00 – 15.00 น. | 🔴 LIVE — Forum II : Quantum technology & Artificial Intelligence | ดร.จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ ประธานกรรมการบริหาร Quantum Technology Foundation Thailand (QTFT) อ.ดร.ธิปรัชต์ โชติบุตร ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อ.ดร.นินนาท แดงเนียม วิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน มหาวิทยาลัยนเรศวร |
15.00 – 15.15 น. | Break | |
15.15 – 16.00 น. | พิธีปิด โดย ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช ผู้อำนวยการโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ |
หมายเหตุ :
(1) กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
(2) จัดการอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Google Meet
(3) กิจกรรมพิเศษในการอบรม ได้แก่ 1) Virtual Common Room บน Gather platform เพื่อสร้างพื้นที่การพูดคุยร่วมกัน 2) การแก้โจทย์ปัญหารายวัน 3) การเฉลยโจทย์ปัญหา และ 4) การมอบรางวัลในพิธีปิด
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม: โทรศัพท์ 0 20277850 ต่อ 202 | อีเมล