MWIT Magazine (Vol.6)

MWIT Magazine

ปีที่ 3 ฉบับที่ 6 | กรกฎาคม – ธันวาคม 2567

“การศึกษาสำคัญต่อชีวิตของคนทุกคน”: บทสัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ

ผู้เรียบเรียง: ปิยรัตน์ แซ่อึ้ง

รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ คือบุคคลสำคัญที่ไม่เพียงสนับสนุนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ แต่ยังมุ่งมั่นทำงานเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ “การศึกษาไม่เพียงสร้างคนไปเป็นทุนทางเศรษฐกิจ แต่ต้องสร้างมนุษย์ที่มีหัวใจด้วย” ในวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567 ผู้บริหารและนักเรียนโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ รวมทั้งทีมงานของ MWIT Magazine ได้รับโอกาสให้ไปสัมภาษณ์และพูดคุยกับคุณหญิงสุมณฑา ในประเด็นเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งบทบาทของเครือข่ายนานาชาติ การศึกษาวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย และพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ต่อการศึกษาไทย แนวคิดในบทสัมภาษณ์นี้ไม่เพียงมีคุณค่าต่อผู้ที่กำลังขับเคลื่อนการศึกษา แต่ยังมีคุณค่าต่อคนทุกคน เพราะ “การศึกษาสำคัญต่อชีวิตของคนทุกคน”

MWIT – โรงเรียนวิทยาศาสตร์สไตล์ฟิวชัน: บทบาทกิจการนานาชาติต่อการพัฒนาโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์อย่างต่อเนื่อง

วรวรงค์ รักเรืองเดช

แนวคิด “สไตล์ฟิวชัน” (fusion) ที่ใช้เป็นชื่อบทความนี้ เปรียบได้กับอาหารฟิวชันที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นจากการผสมผสานอาหารจากต่างวัฒนธรรมเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน แต่ยังคงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นอยู่เสมอ เช่นเดียวกันกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (MWIT) ที่ได้นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ดีที่สุดจากทั่วโลก โดยเฉพาะเทคนิคการสอนในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) ตามแนวทางสากล มาผสมผสานเข้ากับการศึกษาที่มีรากฐานแข็งแกร่งในแบบฉบับไทย ทำให้ MWIT ผลิตกำลังคนที่มีความเป็นเลิศในด้าน STEM ไปแข่งขันในเวทีระดับชาติและนานาชาติได้อย่างมั่นคง

“ถ้าไม่ได้เรียนที่มหิดลวิทยานุสรณ์ ผมอาจจะไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์” จากวันวานสู่วันพรุ่งนี้ ของ ดร.ทวีธรรม ลิมปานุภาพ

ผู้สัมภาษณ์: ณุจุฑา ธรรมสุเมธ
ผู้เรียบเรียง: ทวีธรรม ลิมปานุภาพ, ณุจุฑา ธรรมสุเมธ, ปิยรัตน์ แซ่อึ้ง

ส่วนสำคัญที่ทำให้นักเรียนคนหนึ่งค้นพบว่าตนเองอยากประกอบอาชีพอะไรในอนาคตคือการเรียนช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย ดร.ทวีธรรม ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2563 เล่าให้ฟังว่า โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ช่วยให้ค้นพบตัวตนและตั้งเป้าหมายที่จะเป็น “นักวิจัยและอาจารย์มหาวิทยาลัย” โดยสร้างความเชื่อมั่นให้ตั้งแต่อยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ว่าตนเองทำได้และอาชีพนี้มีความมั่นคง “ถ้าไม่ได้เรียนที่มหิดลวิทยานุสรณ์ ผมอาจจะไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์ มหิดลวิทยานุสรณ์ช่วยให้พวกเราเห็นว่าการทำงานวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์จัดเป็นวิชาชีพแขนงหนึ่ง อาชีพนี้สามารถให้ชีวิตที่สมเหตุสมผลกับความสามารถที่นักเรียนมีอยู่…”

เส้นทางสายใหม่ จากเด็ก MWIT
สู่บทบาทการเป็นครูสอนรุ่นน้อง

ผู้สัมภาษณ์และเรียบเรียง: อรสิริ อิ่มสุวรรณ์

“จากนี้คิดว่าจะทำหน้าที่ครูของเราให้ดียิ่งขึ้นต่อไป จะทำเพื่อ MWIT ต่อไป ตอนทำงานก็มีท้อ มีเหนื่อยนะ แต่เมื่อนึกถึงความตั้งใจของเราตั้งแต่ตอนที่ตัดสินใจรับทุน ยังเป็นความรู้สึกที่อยากทำอยู่ อยากอยู่ตรงนี้ อยากใช้ความสามารถเราให้มากที่สุด ไม่ว่าโรงเรียนจะเติบโตไปในทิศทางไหน เราก็พร้อมจะผลักดันโรงเรียนไปในทางที่ดีที่สุด”

นี่คือความตั้งใจของ “ดร.น้ำ – ธัญนันท์ สมนาม” นักเรียนเก่ารุ่นที่ 15 และครูสาขาวิชาฟิสิกส์ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

การหักล้างเสียงพูดเฉพาะบุคคลของมนุษย์ด้วยเสียงสังเคราะห์

อภินัทธ์ งามพันธุ์ไพศาล, สุพิชชา ฉันทวรางค์, อชิรญาณ์ สุวรรณรัตน์, จตุพร พันตรี

ผู้เขียนเชื่อว่าหากศึกษาเสียงพูดของมนุษย์ให้ลึกขึ้น การหักล้างเสียงพูดของมนุษย์นั้นไม่ใช่เรื่องที่เกินความเป็นจริง และสามารถนำเอาเทคนิคนี้ไปประยุกต์ใช้กับเสียงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เสียงมนุษย์แต่มีความซับซ้อนมากกว่าเสียงรบกวน หรือ noise ได้ หรือหากนำหลักการนี้ไปใช้ร่วมกับเทคโนโลยี ANC ที่มีอยู่แล้วในหูฟัง ก็สามารถทำให้ประสิทธิภาพของการหักล้างเสียงดีขึ้นอีกด้วย

“ลิกนิน” สารประกอบจากชีวมวล สู่สารป้องกันรังสียูวีในฟิล์มห่ออาหาร

พลอยชมพู พรรณราย และ ปารีณา สถิตธรรมนิตย์

การใช้ลิกนินเป็นสารเติมแต่งพลาสติกบรรจุภัณฑ์เป็นอีกหนึ่งการประยุกต์ใช้ลิกนิกที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ช่วยเพิ่มมูลค่าแก่ลิกนินซึ่งเป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตรให้มีศักยภาพในการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติน้อยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

การใช้โปรแกรมแชตบอต AI ช่วยในการทำงาน

สาโรจน์ บุญเส็ง

โปรแกรมแชตบอต AI มีบทบาทสำคัญในการทำงานในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น ChatGPT, Gemini หรือ ChatPDF ทั้งนี้ในการใช้งานผู้ใช้งานต้องตระหนักถึงความถูกต้องของข้อมูลในการนำเสนอ แหล่งอ้างอิงของข้อมูล และความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลด้วย จากตัวอย่างการใช้งานในบทความนี้แสดงให้เห็นถึงเครื่องมือทางด้าน AI ที่จะช่วยในการทำงานของเราในอนาคต

Hallo!! Asynchronous Learning Using the German Language

สุภาพัชร์ สินกันทรากร

จากการศึกษาการเรียนรู้แบบ asynchronous การใช้คลิปวิดีโอที่ผู้เขียนผลิตขึ้นช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามระยะเวลาของตนเอง ไม่จำเป็นต้องปรับตัวตามเวลาของคาบเรียนที่กำหนดไว้ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงคลิปวิดีโอการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา คลิปวิดีโอสามารถกระตุ้นความสนใจ ผู้เรียนสามารถทบทวนความเข้าใจของพวกเขาและฝึกทักษะในการใช้ภาษาโดยการดูคลิปวิดีโอซ้ำ ๆ ได้ตามต้องการ ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์กับผู้เรียนคนอื่นผ่านช่องทางออนไลน์หรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ผู้สอนจัดทำขึ้น

จากกลอนสดสู่กลอนโหวต: 8 ปีในการจัดกิจกรรมประกวดแต่งร้อยกรองในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปิยรัตน์ แซ่อึ้ง

กระแสสังคมและบริบทที่เปลี่ยนไปเป็นปัจจัยสำคัญของการออกแบบกิจกรรมประกวดแต่งร้อยกรองในแต่ละปี เป้าหมายสำคัญคือ เพื่อให้กิจกรรมยังคงส่งเสริมและพัฒนานักเรียนได้ตามเป้าประสงค์ มีความน่าสนใจมากพอที่จะกระตุ้นให้นักเรียนอยากมีส่วนร่วม และเพื่อให้กิจกรรมนี้ยังคงอยู่สืบเนื่องต่อไป ไม่ใช่เพียงเพราะต้องการรักษาสิ่งที่เคยทำมา แต่เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนนี้ที่ชื่นชอบการเขียน ยังคงมีพื้นที่เล็ก ๆ ให้ได้แสดงความสามารถ

พัฒนาการของระบบแนะแนวการศึกษาต่อ
ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

พิริยา ยังรอต และคณะทำงานแนะแนวการศึกษา

กิจกรรมแนะแนวการศึกษา หลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2566 ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความตระหนักรู้ในตนเอง โดยเริ่มต้นจากการชักชวนให้นักเรียนสำรวจโลกและความหลากหลายของอาชีพเพื่อรับรู้ข้อมูลปัจจุบัน นำไปสู่การเริ่มตั้งคำถามถึงคุณค่าที่ตนเองให้แก่ชีวิต จากนั้นสำรวจตนเองให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นผ่านประสบการณ์การลงมือทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียนเพื่อค้นพบทักษะที่ตนเองมี และวางแผนการพัฒนาตนเองในอนาคต

ถอดบทเรียนจากหัวใจครู
: บทบาทครูที่ปรึกษา ที่มากกว่าในห้องเรียน

ธวัชชัย สุลาลัย, ฐิติมา กล้าหาญ

ครูฐิติมา กล้าหาญ เป็นครูประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์ ผู้มีประสบการณ์ทั้งในด้านการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาสังคมศึกษา ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และคุณธรรมจริยธรรม นอกจากบทบาทในด้านการเป็นผู้จัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริมศักยภาพทั้งความคิด วิจารณญาณ และส่งเสริมอัตลักษณ์ความเป็นผู้นำให้แก่นักเรียนแล้ว ครูยังเป็นดุจครูแม่แบบ ผู้เป็นดั่งปูชนียบุคลากรแก่ครูรุ่นใหม่ในโรงเรียน ในฐานะครูที่ปรึกษาต้นแบบที่คอยให้คำแนะนำไม่เพียงแก่ศิษย์ แต่ยังให้แนวทางการปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษาแก่ครูรุ่นใหม่อีกด้วย

Motivational Factors in Learning English
for Non-Native Speakers

Metchawin Inthichai

This article delves into the key motivational factors that drive non-native speakers to learn English, highlighting both intrinsic and extrinsic influences. It examines how personal interests, cognitive challenges, and desires for self-improvement fuel intrinsic motivation, while external factors like career advancement, educational opportunities, and social status offer strong extrinsic incentives. The article also explores how contextual factors—such as learning environments, cultural attitudes, and social support—shape motivation. Drawing on Self-Determination Theory and Gardner’s Socio-Educational Model, the piece offers practical insights for educators and policymakers to enhance language acquisition through personalized learning, supportive environments, and effective counseling. Understanding these multifaceted motivations is essential for creating successful and engaging English language programs that meet the diverse needs of learners worldwide.

Pre-MWIT: เพราะพี่ ๆ อยากให้น้องรู้จัก MWIT

สุภวัฒก รัตนเมกุล

จากน้อง ๆ ที่สมัครเข้าค่าย Pre-MWIT กว่า 370 คน บางคนอาจสมหวัง ได้เข้าเรียนที่ MWIT เป็นหนึ่งใน 240 คนของนักเรียนรุ่น 34 และบางคนอาจไม่สมหวัง หรือเลือกไปเรียนตามเส้นทางของตนเอง แต่สิ่งที่พี่ ๆ MWIT อยากส่งต่อให้น้อง ๆ คือ ความพยายามและความตั้งใจเพื่อให้น้อง ๆ มีความสุข และได้รู้จัก MWIT ในแบบที่ MWIT เป็นจริง ๆ แม้ว่าในวันที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 12.00 น. ค่าย Pre-MWIT 2024: Legend Once Said ได้สิ้นสุดลงแล้ว แม้ 3 วันที่อยู่ด้วยกันอาจเป็นเวลาที่แสนสั้น แต่ “ตำนาน” ที่เราร่วมกันเล่าขานนี้จะตราตรึงในใจตลอดไป ดอกไม้แย้มกลีบ บานแล้วในใจฉัน จงหอมชั่วนิรันดร์ มิโรยร่วงผ่านจากใจเราผอง…

#จะนะก็แค่ปากซอย
: ค่ายภาคใต้ภายใต้ความรักและความรู้

ปิยรัตน์ แซ่อึ้ง

“นักเรียนที่นี่อาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าโรงเรียนมหิดลฯ อยู่ที่ไหน” คือประโยคที่เกิดขึ้นระหว่างที่ผู้เขียนสนทนากับผู้จัดการโรงเรียนเอิ้นวิทยานุสรณ์ ระยะทาง 982 กิโลเมตร (วัดจาก Google Maps) ระหว่าง 2 โรงเรียนนั้นอาจห่างไกลสำหรับการเดินทาง แต่การเดินทางไกลครั้งนี้ก็คุ้มค่าสำหรับการเติบโต ความรู้และความรักที่งอกงามขึ้นในค่ายอาจจะทำให้หลายคนพบว่าแท้จริงแล้ว “จะนะก็แค่ปากซอย”

ไฮไลต์งานประชุม ICCE 2024

ดวงแข ศรีคุณ และ อุษา จีนเจนกิจ

ประธานจัดงานประชุม ICCE 2024 ศาสตราจารย์ ดร.ศุภวรรณ ตันตยานนท์ ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อนในการจัดงานประชุม ICCE คือ การให้ทุนสนับสนุนครูเคมีระดับมัธยมศึกษาให้ได้เข้าร่วมงานประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการ โดยสนับสนุนค่าลงทะเบียนให้ครูที่ส่งผลงานนำเสนอจากทั้งประเทศไทยและต่างประเทศ 102 คน และครูต้นแบบจากโครงการห้องเรียนเคมีดาว 21 คน บุคลากรสาขาวิชาเคมี โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ ได้แก่ ดร.อุษา จีนเจนกิจ และ ดร.ดวงแข ศรีคุณ ได้รับทุนสนับสนุนในกลุ่มครูต้นแบบของโครงการห้องเรียนเคมีดาว

We uses cookies to improve the functionality, performance, and effectiveness of our communications, detailed in our Privacy Policy. By continuing to use this site, or by clicking "Agree," you consent to the use of cookies.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ Settings

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น (Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้ - Session Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies are essential to provide You with services available through the Website and to enable You to use some of its features. They help to authenticate users and prevent fraudulent use of user accounts. Without these Cookies, the services that You have asked for cannot be provided, and We only use these Cookies to provide You with those services.

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytical Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้ - Persistent Cookies Administered by: Us Purpose: These Cookies allow us to remember choices You make when You use the Website, such as remembering your login details or language preference. The purpose of these Cookies is to provide You with a more personal experience and to avoid You having to re-enter your preferences every time You use the Website.

Save